ข้อปฏิบัติทั่วไปในการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ
- การเตรียมสารเคมีพวก กรด ด่าง หรือสารระเหย ควรทำในตู้ดูดควัน
- เทกรดลงน้ำ ห้ามเทน้ำลงกรด
- ไม่ใช้จุกแก้ว กับขวดบรรจุสารละลายด่าง เพราะจุกจะติดกับขวดจนเปิดไม่ได้
- ไม่ใช้จุกยางกับขวดบรรจุตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น แอลกอฮอล์ อะซีโตน
- ห้ามใช้เปลวไฟในการให้ความร้อนแก่ของเหลวไวไฟ หรือในขบวนการกลั่น
- ให้ความระมัดระวังในการจุดไฟในห้องปฏิบัติการ ดับไฟทันทีเมื่อเลิกใช้งาน ไม่ควรปล่อยให้ไฟติดทิ้งไว้โดยไม่มีคนดู
- ก่อนที่จะทำการจุดไฟ ควรย้ายวัสดุไวไฟออกจากบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ควรแน่ใจว่าได้ปิดภาชนะที่บรรจุของเหลวไวไฟอย่างดีแล้ว
- ควรเก็บสารเคมีไวไฟในตู้สำหรับเก็บสารเคมีไวไฟโดยเฉพาะ
- หลีกเลี่ยงการสูดดมไอระเหยของสารเคมี ห้ามทดสอบชนิดของสารเคมีโดยยกดมกลิ่นโดยตรงอย่างเด็ดขาด
- การดูดสารละลายโดยใช้ปิเป็ต ห้ามใช้ปากดูด ให้ใช้ลูกยาง
- ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดประกายไฟ
- ในกรณีที่มีสารระเหยไวไฟ (Volatile flammable material) ควรใช้ตู้ดูดควันในการถ่ายเท ผสม หรือ ให้ความร้อนสารเคมี
- กรณีสามารถเลือกใช้สารเคมีได้ ควรเลือกใช้สารเคมี ที่มีความเป็นพิษน้อยที่สุด ใน ปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่พึงกระทำได้
- อ่านคู่มือ และเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เมื่อต้องปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับสารก่อมะเร็ง
- หากผิวหนังถูกสัมผัสโดยสารเคมี ต้องล้างออกโดยทันทีด้วยน้ำประปา หรือน้ำสะอาด อย่างน้อย 15 นาที
- เมื่อเลิกปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ควรล้างมือด้วยสบู่ และน้ำสะอาด
- ห้ามดื่ม กิน เคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ หรือ แม้แต่ทาเครื่องสำอางในห้องปฏิบัติการ
- ห้ามนำเครื่องดื่ม อาหาร บุหรี่ และเครื่องสำอางเข้ามาเก็บในบริเวณห้องปฏิบัติการ
- ห้ามใช้เครื่องไมโครเวฟในห้องปฏิบัติการเพื่อเตรียมกาแฟ อาหาร
- ห้ามใช้ตู้เย็นในห้องปฏิบัติการเพื่อเก็บอาหาร
วิธีการจัดเก็บและรักษาสารเคมีที่เหมาะสม
วิธีการจัดเก็บและรักษาสารเคมีที่เหมาะสม ควรดำเนินการดังนี้
- ต้องมีการตรวจสอบ ประเมินอุปกรณ์ที่ใช้ เพื่อความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
- ต้องมั่นใจว่าสารเคมี ทุกภาชนะบรรจุ มีฉลากที่ถูกต้องสมบูรณ์ และมีสัญลักษณ์เตือนภัยกำกับ
- ต้องศึกษาสมบัติของสารเคมีที่จะเก็บรักษา จากนั้นจึงทำการจัดแบ่ง ประเภทให้ถูกต้อง ต้องมีการตรวจสอบ บริเวณที่เก็บรักษาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากสารเคมีบางชนิด สลายตัวช้า ๆ ตลอดเวลาการเก็บ อาจต้องมีสภาวะพิเศษ เช่น สารที่มี Halomethyl group สลายตัวให้แก๊ส Halogen halide เมื่อมีความชื้น หรือสัมผัสกับสนิม ซึ่งหากมีความดันของแก๊สเพิ่มขึ้น ถึงจุดหนึ่ง อาจทำให้ภาชนะบรรจุระเบิดได้
- ระวังเป็นพิเศษสำหรับสาร ที่ต้องเก็บแยกจากกันโดยเด็ดขาด โดยป้องกันไม่ให้มีการเก็บสาร ที่อาจทำปฏิกิริยารุนแรง เมื่อสัมผัส หรือผสมกันไว้ด้วยกัน หรือใกล้กัน เช่นสาร Cyanides ควรเก็บแยกไว้ต่างหาก อย่างปลอดภัย ไม่ให้มีโอกาสสัมผัสกับกรด
- ภาชนะบรรจุสารเคมีที่เก็บรักษา จะต้องมีฉลาดระบุวันที่รับ ผู้สั่งซื้อ ผู้รับผิดชอบการใช้ และเก็บรักษา
- ต้องไม่มีสารเคมี ที่ไม่ปรากฏในรายการเก็บรักษา ที่เป็นปัจจุบัน อยู่ในห้องเก็บสารเคมี สารเคมีที่หมดอายุแล้ว ต้องเอาออกจาก บริเวณที่จัดเก็บ เพื่อนำไปกำจัดทิ้งโดยเร็ว
- สารเคมีใดที่ไม่ปรากฏว่า มีการซื้อ หรือเบิกจ่ายเป็นเวลานาน ควรตัดออกจารายการ สารเคมีที่เก็บรักษาเพื่อใช้งาน และแยกออก เพื่อกำจัดตามวิธีที่เหมาะสมต่อไป
วิธีการจัดเก็บสำหรับสารบางประเภท
- ของเหลวไวไฟ ที่บรรจุภาชนะขนาดใหญ่ ควรจัดหาสถานที่เก็บรวม ซึ่งควรแยกไว้ห่างจากตัวอาคาร ห้องปฏิบัติการ ถ้าต้องเก็บภายในอาคาร ห้องปฏิบัติการ ควรมีห้องเก็บพิเศษ ซึ่งผนังห้องเพดาน ทำด้วยวัสดุที่กันไฟได้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ประตูห้องเก็บ ต้องเป็นชนิดปิดได้เอง และทำด้วยวัสดุพิเศษ จัดตำแหน่งห้องเก็บ ไว้ให้สามารถดับเพลิง ได้สะดวก ไม่ควรอยู่บริเวณกลางตึก บนหลักคาตึก หรือชั้นใต้ดิน เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม อันตรายจากไฟไหม้ กรณีจัดเก็บสารเคมีไวไฟ ในถังขนาด 55 แกลลอนควรวางบนชั้นโลหะที่ต่อสารดินป้องกันการสะสมของไฟฟ้าสถิตซึ่งอาจทำให้เกิดประกายไฟและทำให้ของเหลวติดไฟได้กรณีที่มีแดดส่องถึงจะต้องเปลี่ยนฝาปิดให้เป็นชนิดที่ลดความดันภายในได้เพื่อป้องกันการเกิดความดันไอสะสมเป็นปริมาณมาก
- สารพิษ และสารอันตราย ควรแยกออกจากสารประเภทอื่น ๆ และเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำมีการระบายอากาศดีไม่ถูกแสงความร้อนกรดตัวออกซิไดส์หรือความชื้นการจัดเก็บขวดสารเคมีที่เปิดแล้วในห้องเก็บสารเคมีจะต้องทำการผนึกอย่างดีและเก็บในที่ซึ่งมีระบบระบายอากาศเฉพาะบริเวณ
- ปรอทและสารประกอบปรอท ให้เก็บในภาชนะปิดสนิทสองชั้น ภาชนะบรรจุ ควรวางในบริเวณ ที่มีการระบายอากาศดี การถ่ายปรอทออกจากภาชนะ ควรทำให้ hoodมีถาดเคลือบหรือใช้ถาดพลาสติกรองรับ
- สารเคมีที่ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ เช่น ทำให้เกิดความร้อน ติดไฟ เกิดแก๊สที่ทำให้เกิดแรงระเบิดได้ ต้องเก็บในสถานที่ ซึ่งสร้างด้วยวัสดุทนไฟ ป้องกันไม่ให้มี การสัมผัสกับน้ำโดยเด็ดขาด
- ถังแก๊สควรเก็บรักษาในสถานที่ ซึ่งมีการระบายอากาศดี ห้องเก็บก่อสร้าง ด้วยวัสดุทนไฟ ถังบรรจุแก๊สบางชนิด อาจเก็บไว้ภายนอกอาคารได้ โดยป้องกันจากการกัดกร่อน ของก้นถัง ควรเป็นที่ซึ่ง ปราศจากสารเคมี และไอสารเคมี โดยเฉพาะที่มี ฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ ไม่ควรเก็บถังแก๊ส ไว้ใกล้ที่ซึ่งมีการจุดไฟ หรือที่ซึ่งอาจมีสิ่งของน้ำหนักมาก ตกลงมากระทบ หรือชนให้ถังล้มได้ เช่นบริเวณบันได ทางเดิน บริเวณที่เก็บรักษา ควรมีป้ายชื่อ แสดงชนิดแก๊สติดไว้ แต่ละตำแหน่ง ต้องหลีกเลี่ยง การเก็บรักษาถังแก๊สไว้ ในที่ซึ่งมีอุณหภูมิสูง ถ้าต้องเก็บแก๊สหลายชนิด ไว้บริเวณเดียวกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น