3.1 แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล
โดยปกติแล้วในธรรมชาติ อะตอมของธาตุต่าง ๆ จะไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่จะรวมกันเป็นกลุ่มอะตอมหรือเป็นโมเลกุลของสารประกอบ เช่น HCl , NH3 เป็นต้น การที่อะตอมเหล่านี้รวมอยู่ด้วยกันได้อย่างเสถียรภาพนั้น เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวอะตอมเหล่านั้น แรงยึดเหนี่ยวนี้เรียกว่า พันธะเคมี (chemical bond) ดังนั้นถ้าต้องการให้อะตอมที่รวมกันเป็นโมเลกุลแตกออกจากกัน ก็จะต้องมีการทำลายพันธะเคมีอันนี้ จึงสรุปคำจำกัดความของพันธะเคมี คือ แรงยึดเหนี่ยวอะตอมต่างๆ ให้อยู่ด้วยกันอย่างมีเสถียรภาพ เกิดเป็นโมเลกุลของสารประกอบ การที่อะตอมต่างๆ รวมกันอยู่ได้นั้นก็เพราะว่าสภาพรวมมีความเสถียรภาพมากกว่าที่จะอยู่ในสภาพโดดเดี่ยว อย่างไรก็ตามอะตอมของธาตุบางธาตุ เช่น ธาตุหมู่ 8 A (แก๊สเฉื่อย) ก็สามารถที่จะอยู่ได้ตามลำพัง โดยไม่ต้องรวมกับอะตอมอื่น เมื่อพิจารณาโครงสร้างและการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอมของแก๊สเฉื่อย จะพบว่าอะตอมเหล่านี้มีอิเล็กตรอนวงนอกสุด ครบจำนวน 8 ตัว ซึ่งเป็นการจัดอิเล็กตรอนที่เสถียรเป็นพิเศษ ดังนั้นอะตอมต่าง ๆ ที่เข้าทำปฏิกิริยากันก็จะพยายามเปลี่ยนแปลงและปรับจำนวนอิเล็กตรอนระดับวงนอกของตัวเองให้เป็นเหมือนแก๊สเฉื่อย ซึ่งมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ซึ่งเป็นไปตามกฎที่เรียกว่า กฎออกเตต (octet rule) การปรับตัวของอะตอมเพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตตนั้น ทำได้โดยการให้อิเล็กตรอนไปกับอะตอมอื่น การรับอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น และการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันกับอะตอมอื่น โมเลกุลของสารประกอบที่ปรับตัวเป็นไปตามกฎออกเตตนั้น โมเลกุลจะมีความเสถียรมาก
พัฒนาการของตารางธาตุ ตลอดจนแนวคิดของการจัดอิเล็กตรอน ช่วยให้นักเคมีสามารถอธิบายการเกิดโมเลกุลหรือสารประกอบได้อย่างมีเหตุผล กิลเบิร์ต ลิวอิส (Gilbert Newton Lewis) เสนอว่า อะตอมรวมตัวกันเพื่อทำให้เกิดการจัดอิเล็กตรอนที่มีเสถียรภาพเพิ่มขึ้น โดยเสถียรภาพมีค่ามากที่สุดเมื่ออะตอมมีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนในธาตุเฉื่อย เมื่ออะตอมรวมกันเกิดเป็นพันธะเคมี อิเล็กตรอนระดับนอกหรือที่เรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะเคมี นักเคมีใช้สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส ในการนับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนระหว่างปฏิกิริยา และเพื่อให้แน่ใจว่าจำนวนอิเล็กตรอนมีค่าคงที่ สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส ประกอบด้วยสัญลักษณ์ ธาตุ และจุด 1 จุด แทน 1 เวเลนซ์อิเล็กตรอนของอะตอมธาตุนั้น เช่น โลหะในหมู่ I Aซึ่งมีเวเลนซ์ อิเล็กตรอน 1 ตัว จะมีสัญลักษณ์ ดังนี้
ตารางที่ 2 แสดงสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสของธาตุเรพรีเซนเททิฟในคาบที่ 2 และ 3
การจัดอิเล็กตรอนและตำแหน่งในตารางธาตุ สามารถนำมาทำนายชนิดพันธะที่เกิดขึ้นจำนวนพันธะที่เกิดขึ้น จำนวนพันธะที่อะตอมธาตุหนึ่ง ๆ จะสร้างได้รวมถึงเสถียรภาพของสารประกอบที่เกิดขึ้น
3.1.1 พันธะไอออนิก ( Ionic bond )
เป็นพันธะที่เกิดจากการที่อะตอมหนึ่งเป็นฝ่ายให้อิเล็กตรอนระดับนอก และอีกอะตอมหนึ่งเป็นฝ่ายรับอิเล็กตรอนเข้ามาสู่ระดับนอก แล้วทำให้อะตอมทั้งสองฝ่ายอยู่ในสภาพเสถียร (ครบ 8 ตามกฎออกเตต) เช่น ธาตุในหมู่ 1A ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 ถ้าเอาอิเล็กตรอนตัวนี้ออกไปเสีย อิเล็กตรอนในระดับถัดเข้าไปจะมีจำนวนเท่ากับ 8 ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เสถียรเหมือนแก๊สเฉื่อย เช่น Na มีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 1s2 2s22p6 3s1 ถ้าเอาอิเล็กตรอน 3s1 ออกไป จะเกิดเป็น Na+ จะมีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 1s2 2s2 2p6 ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เสถียรเหมือนแก๊สเฉื่อย คือ Ne ซึ่งมีโครงสร้างอิเล็กตรอนคือ 1s2 2s2 2p6 ส่วนธาตุในหมู่ 7A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 ต้องการอีก 1 ตัว จะครบ 8 เช่น Cl มีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 1s2 2s2 2p6 3s2 3p5 ถ้ารับอิเล็กตรอนเข้ามาหนึ่งตัวจะกลายเป็น Cl – โครงสร้างอิเล็กตรอนจะเปลี่ยนเป็น 1s2 2s2 2p6 3s2 3p6 ซึ่งเหมือนโครงสร้างอิเล็กตรอนของ Ar ซึ่งเป็นธาตุเฉื่อย
อะตอมที่มีอิเล็กตรอนระดับนอกจำนวนน้อย มีพลังงานการแตกตัวเป็นไอออนต่ำและมีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนต่ำ มีแนวโน้มที่จะเสียอิเล็กตรอนระดับนอกไปแล้วกลายเป็นไอออนบวก ส่วนธาตุที่มีอิเล็กตรอนระดับนอกมากมีพลังงานการแตกตัวเป็นไอออนสูง มีสัมพรรคภาพอิเล็กตรอนสูง มีแนวโน้มจะรับอิเล็กตรอนได้ง่ายและกลายเป็นไอออนลบ เมื่ออะตอมเหล่านี้ถ่ายโอนอิเล็กตรอนให้แก่กันแล้วเกิดเป็นไอออนบวกและไอออนลบ ซึ่งมีประจุไฟฟ้าต่างกันจึงเกิดแรงดึงดูดกันทางไฟฟ้ายึดเหนี่ยวให้ไอออนทั้งสองอยู่ด้วยกัน พันธะระหว่างไอออนบวกและไอออนลบนี้เรียกว่า พันธะไอออนิก หรือพันธะอิเล็กโทรเวเลนซ์ และเรียกสารประกอบที่เกิดขึ้นว่า สารประกอบไอออนิก
พันธะไอออนิกเกิดได้ง่ายระหว่างธาตุที่กลายเป็นไอออนบวกได้ง่าย เช่น ธาตุหมู่ 1A และหมู่ 2 A กับธาตุที่กลายเป็นไอออนลบได้ง่าย เช่น ธาตุหมู่ 7A และ 6 A ตัวอย่างเช่น
มีหลายกรณีที่ไอออนบวกกับไอออนลบในสารประกอบมีประจุต่างกัน เช่น เผาลิเทียม (Li) ในอากาศได้เป็นลิเทียมออกไซด์ (Li2O) ดังสมการ
สัญลักษณ์ลิวอิสแสดงการเกิด LiO2 สามารถเขียนได้ดังนี้
พันธะไอออนิกไม่มีทิศทางที่แน่นอน เพราะเกิดจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าระหว่างไอออนบวกกับไอออนลบ
สารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิก เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยไอออนที่มาอยู่รวมกันยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิกคือแรงดึงดูดทางไฟฟ้าระหว่างไอออนที่มีประจุตรงข้ามกัน การที่ไอออนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มทำให้สารประกอบไอออนิกมีสมบัติ ดังนี้
- การละลาย สารประกอบไอออนิก ส่วนมากละลายน้ำได้ ไม่ละลายในตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์อื่น ๆ จากความสามารถละลายน้ำได้ จะพบสารประกอบไอออนิกละลายอยู่ในน้ำทะเลและมหาสมุทร เช่น NaCl เป็นต้น
- การนำไฟฟ้า สารประกอบไอออนิกในสภาพของแข็ง มีการนำไฟฟ้าต่ำมาก เพราะไอออนเกาะกันแน่นในโครงสร้างของผลึก จึงไม่สามารถเคลื่อนที่อย่างอิสระได้ แต่เมื่อละลายน้ำเป็นสารละลาย หรืออยู่ในสภาวะหลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากเกิดการแตกตัวเป็นไอออน และไอออนเหล่านี้เคลื่อนที่ได้เป็นอิสระภายใต้สนามไฟฟ้า เช่น การทำอิเล็กโทรไลซิสเกลือชนิดต่าง ๆ
- ความแข็ง สารประกอบไอออนิกโดยทั่วไปเป็นของแข็ง ภายในผลึกประกอบด้วยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตที่แข็งแรงมากจากการทดลองโดยใช้รังสีเอ็กซ์ ศึกษาโครงสร้างผลึกโซเดียมคลอไรด์ พบว่ามีกลุ่มอิเล็กตรอน 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีอิเล็กตรอน 10 ตัว อีกกลุ่มหนึ่งมีอิเล็กตรอน 18 ตัว ล้อมรอบนิวเคลียสหนึ่ง ๆ จำนวนอิเล็กตรอน 2 กลุ่มนี้ตรงกับจำนวนอิเล็กตรอนของโซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออน ตามลำดับ สมบัติที่เกี่ยวกับความแข็งของสารประกอบไอออนิกเนื่องมาจาก การดึงดูดกันระหว่างไอออนในโครงสร้างของผลึก
- จุดเดือดและจุดหลอมเหลว สารประกอบไอออนิกมีแนวโน้มที่จะมีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง เนื่องจากมีพันธะไอออนิกที่แข็งแรง และมีแรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกและไอออนลบทุกทิศทาง เช่น NaCl เมื่อพิจารณาในโครงสร้างของผลึก พบว่า แต่ละ Na+ จะดึงดูดกับ Cl– ไอออน ที่อยู่ล้อมรอบ และขณะเดียวกันแต่ละ Cl– จะดึงดูดกับ Na+ 6 ไอออนการดึงดูดจะเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ตลอดทั้งผลึก และเป็นผลให้ NaCl มีจุดหลอมเหลวสูง
พลังงานของการเกิดผลึกที่เกิดจากไอออนบวกและไอออนลบในผลึกเกิดเป็นแลตทิชของผลึกนั้นเรียกพลังงานแลตทิซ ( lattice energy, U ) พลังงานนี้จะถูกคายออกมาเมื่อไอออนในสถานะแก๊สทำปฏิกิริยากันคลายเป็นผลึกของแข็ง และค่าพลังงานแลตทิซนี้จะเป็นค่าที่บอกถึงความเสถียรของผลึกนั้น ในทางกลับกันอาจให้คำจำกัดความของพลังงานแลตทิซได้ว่า คือพลังงานที่ให้กับสารประกอบผลึกของแข็งไอออนิก 1 โมล แล้วเกิดการสลายตัวกลายเป็นไอออนบวกและไอออนลบในสภาพแก๊ส
ปฏิกิริยาของโซเดียมกับคลอรีน เกิดขึ้นเพียงขั้นเดียวมากกว่าที่จะมีหลายขั้นตอนแต่การคำนวณการเปลี่ยนแปลงพลังงาน อาจทำให้สะดวกขึ้นถ้าแบ่งปฏิกิริยาเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. การเปลี่ยนสถานะของโลหะโซเดียมจากของแข็งไปเป็นไอ (การระเหิด)
2. การสลายตัวของคลอรีนโมเลกุลเป็นคลอรีนอะตอม ใช้พลังงาน 243 kJ/mol ของ Cl2
3. การเปลี่ยนโซเดียมอะตอมให้เป็นโซเดียมไอออน (ค่า IE)
4. การเปลี่ยนคลอรีนอะตอมให้เป็นคลอไรด์ไอออน (ค่า EA)
5. การรวมกันของโซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออนเป็น NaCl การเปลี่ยนแปลงพลังงานในขั้นตอนนี้ ขึ้นกับแรงดึงดูดระหว่างประจุ ซึ่งเป็นพลังงานที่ปลดปล่อย มีค่าเท่ากับ -787 kJ/Mol สำหรับ NaCl
รวมปฏิกิริยา 5 ขั้นตอนและการเปลี่ยนแปลงพลังงานได้ ดังนี้
ผลรวมของการเปลี่ยนแปลงพลังงานทั้ง 5 ขั้นตอนเท่ากับการเปลี่ยนแปลงพลังงานสุทธิของปฏิกิริยารวม ซึ่งแสดงเป็นแผนภาพขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพลังงานในปฏิกิริยาระหว่างโซเดียมและคลอรีน เรียกว่า วัฏจักรบอร์น-ฮาเบอร์ (Born-Haber cycle) ดังนี้
ภาพที่ 23 วัฏจักรบอร์น – ฮาเบอร์
จากแผนภาพจะเห็นว่าขั้นตอนที่ 1, 2 และ 3 เป็นขั้นตอนการดูดพลังงาน (การเปลี่ยนแปลงพลังงานมีค่าเป็น +) ในขณะที่ขั้นตอนที่ 4 และ 5 เป็นขั้นตอนการคายพลังงาน โดยเฉพาะขั้นตอนที่ 5 นั้นเป็นการสร้างพันธะไอออนิก
3.1.2 พันธะโคเวเลนต์ (Covalent bond)
พันธะโคเวเลนต์ เป็นพันธะที่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมสร้างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน นำเอาอิเล็กตรอนระดับนอกที่มีจำนวนเท่ากันมาใช้ร่วมกัน (Share) อาจจะเป็น 1 คู่ เกิดพันธะเดี่ยว (Single bond) 2 คู่ เกิดพันธะคู่ (Double bond) หรือ 3 คู่ เกิดพันธะสาม (triple bond) สารประกอบที่เกิดขึ้นจากการเกิดพันธะโคเวเลนต์ เรียกว่า สารประกอบโคเวเลนต์ ในปี ค.ศ. 1916 กิลเบิร์ต ลิวอิส (Gilbert Lewis) ได้เสนอแนวคิดว่า พันธะโคเวเลนต์เป็นเรื่องของการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่าง 2 อะตอมที่เข้าทำปฏิกิริยากัน ขณะเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนอิเล็กตรอนรอบนอกสุด ให้มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนครบ 8 ตัว แบบแก๊สเฉื่อย ซึ่งเป็นไปตามกฎออกเตต ตัวอย่าง เช่น ฟลูออรีน มีอิเล็กตรอน ระดับนอก 7 ตัว ต้องการอีก 1 ตัว จะครบ 8 เหมือน Ne เมื่อ ฟลูออรีนอะตอม (F2) มารวมกันจะสร้างพันธะโคเวเลนต์ชนิดพันธะเดี่ยวจะได้โมเลกุล F2 มีโครงสร้างลิวอิสดังนี้
เพื่อความสะดวกและชัดเจนจะใช้ขีด (-) สั้น ๆ แทนอิเล็กตรอนหนึ่งคู่ที่ใช้ร่วมกัน จะสังเกต เห็นว่ามีอิเล็กตรอนระดับนอกที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะ เรียกว่า อิเล็กตรอนไม่ร่วมพันธะ (nonbonding electron) หรือ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (lone pair electron) ซึ่งใน F2 จะมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่อะตอมละ 3 คู่
ในทำนองเดียวกันออกซิเจนมีอิเล็กตรอนระดับนอก 6 ตัว ต้องการอีก 2 ตัว จะครบ 8 เมื่อออกซิเจน 2 อะตอม มารวมกันจะเกิดเป็นโมเลกุลออกซิเจน (O2) มีโครงสร้างลิวอิส ดังนี้
ไนโตรเจนก็เช่นกันจะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่ เกิดเป็นโมเลกุลไนโตรเจน ( N2 ) และมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอะตอมละ 1 คู่ เขียนโครงสร้างลิวอิสได้ดังนี้
กฎออกเตต (Octet rule)
ลิวอิส ได้เสนอกฎออกเตต ซึ่งกฎนี้กล่าวว่า อะตอมต่าง ๆ นอกจากไฮโดรเจนมีแนวโน้มจะสร้างพันธะ เพื่อให้มีอิเล็กตรอนระดับนอกครบแปด อะตอมจะสร้างพันธะโคเวเลนต์ เมื่อมีอิเล็กตรอนระดับนอกไม่ครบ 8 อิเล็กตรอน (เรียกว่า ไม่ครบออกเตต) การใช้อิเล็กตรอนร่วมกันในพันธะโคเวเลนต์ จะทำให้อะตอมมีอิเล็กตรอนครบออกเตตได้ ยกเว้นไฮโดรเจนจะสร้างพันธะเพื่อให้มีการจัดอิเล็กตรอนระดับนอกเหมือนธาตุฮีเลียม คือ มี 2 อิเล็กตรอน เช่น
กฎออกเตตใช้ได้ดีกับธาตุในคาบที่ 2 ของตารางธาตุ ซึ่งธาตุเหล่านั้นมีอิเล็กตรอนระดับนอกอยู่ใน 2s และ 2p ออร์บิทัล ซึ่งรับอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 8 อิเล็กตรอน
ข้อยกเว้นของกฎออกเตต
- กรณีโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนเกินแปด ธาตุบางธาตุในคาบที่ 3 เช่น ฟอสฟอรัส (P) หรือ กำมะถัน (S) สามารถมีอิเล็กตรอนระดับนอกได้เกิน 8 ตัว (เพราะจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงาน n = 3 มีอิเล็กตรอนได้สูดสุด 18 ตัว) จึงทำให้ฟอสฟอรัสและกำมะถัน สามารถสร้างพันธะโคเวเลนต์ โดยใช้อิเล็กตรอนมากกว่า 8 ตัว ได้ เช่น ฟอสฟอรัสเพนตะคลอไรด์ (PCl5)
- กรณีของโมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนไม่ครบแปดในสารประกอบบางชนิด อะตอมกลางของโมเลกุลที่เสถียรมีอิเล็กตรอนไม่ครบ 8 อิเล็กตรอน เช่น โบรอนไตรฟลูออไรด์ (BF3 )
จะเห็นว่าโบรอน (B) มีอิเล็กตรอนเพียง 6 อิเล็กตรอน ซึ่งไม่ครบออกเตต นอกจากนี้โมเลกุลที่อะตอมกลางมีอิเล็กตรอนเป็นจำนวนเลขคี่ โมเลกุลบางชนิดมีอิเล็กตรอนล้อมรอบเป็นจำนวนเลขคี่ และไม่ครบออกเตตทุกอะตอม เช่น ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
ไนโตรเจน (N) มีอิเล็กตรอนล้อมรอบไม่ครบ 8 มีเพียง 7 อิเล็กตรอน ในบางกรณี อิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันในการสร้างพันธะโคเวเลนต์ไม่ได้มาจากอะตอมสองอะตอม อาจมาจากอะตอมเดียว เช่น โมเลกุลแอมโมเนียรวมกับไฮโดรเจนไอออนได้เป็น แอมโมเนียมไอออน (NH3+H+ NH4+) ซึ่งแอมโมเนียมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 1 คู่ สามารถใช้ร่วมกับไฮโดรเจนไอออนได้ ดังนี้
พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นใหม่ระหว่าง NH3 กับ H+ เรียกว่า พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ หรือพันธะเดทีฟ ซึ่งมีสมบัติเหมือนพันธะโคเวเลนต์ธรรมดา เพราะพันธะทั้ง 4 ของ NH4+ มีสมบัติเหมือนกันทุกประการ
ความยาวพันธะและพลังงานพันธะ
ความยาวพันธะ หมายถึง ระยะระหว่างนิวเคลียสของอะตอมที่สร้างพันธะกันซึ่งเป็นค่าที่วัดได้ในหน่วย พิกโคเมตร (pm) และพลังงานพันธะ หมายถึง พลังงานที่ใช้ในการแยกอะตอม ที่ยึดเหนี่ยวกันไว้ด้วยพันธะให้หลุดออกจากกัน วัดได้ในหน่วยกิโลจูลต่อโมล พลังงานพันธะบอกให้ทราบถึงความแข็งแรงของพันธะนั้น พันธะยิ่งแข็งแรงยิ่งต้องการพลังงานมากในการทำลายพันธะ พลังงานพันธะบางครั้งเรียก พลังงานสลายพันธะ ความยาวพันธะและพลังงานพันธะขึ้นอยู่กับปริมาณความหนาแน่นของอิเล็กตรอนระหว่างนิวเคลียสของอะตอมทั้งสอง ถ้าความหนาแน่นอิเล็กตรอนมาก นิวเคลียสทั้งสองจะยึดเหนี่ยวกันไว้อย่างแรง และเข้ามาอยู่ชิดกันมาก ดังนั้นพันธะคู่จะสั้นและแข็งแรงกว่าพันธะเดี่ยวและพันธะสามจะสั้นและแข็งแรงกว่าพันธะคู่
เรโซแนนซ์
เรโซแนนซ์ หมายถึง การใช้โครงสร้างลิวอิสตั้งแต่ 2 โครงสร้างขึ้นไปแทนโมเลกุลใดโมเลกุลหนึ่งที่ไม่สามารถเขียนโครงสร้างที่แท้จริงออกมาเป็นสูตรได้อย่างชัดเจน เช่น เบนซีน จากการทดลองพบว่าพันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมในโครงสร้างทั้ง 6 พันธะยาวเท่ากันคือ 140 pm ซึ่งอยู่ระหว่างความยาวของพันธะเดี่ยว c – c เท่ากับ 154 pm และความยาวของพันธะคู่ c = c เท่ากับ 133 pm แสดงว่าโครงสร้างเรโซแนนซ์ที่เขียนขึ้นนี้ไม่ใช่โครงสร้างที่แท้จริงของเบนซีน โครงสร้างที่แท้จริงของเบนซีนเป็นเรโซแนนซ์ไฮบริดของโครงสร้าง
เรโซแนนซ์ทั้งสองที่เขียนดังตัวอย่างต่อไปนี้
รูปร่างของโมเลกุลโคเวเลนต์ เป็นสมบัติที่สำคัญของโมเลกุล เนื่องจากรูปร่างของโมเลกุลจะมีผลต่อสมบัติทางกายภาพ และปฏิกิริยาเคมี เราสามารถทราบสูตรของสารประกอบโคเวเลนต์ได้จากการเขียนโครงสร้างลิวอิส พิจารณาโมเลกุลของน้ำ (H2O) ซึ่งในที่นี้แสดงการเขียนโครงสร้างลิวอิสได้ 6 แบบ ดังนี้
จะเห็นว่าโครงสร้างลิวอิส ไม่สามารถใช้แสดงรูปร่างของโมเลกุลได้ แต่ใช้อธิบายการเกิดพันธะระหว่างอะตอมใน 2 มิติ เช่น โครงสร้างลิวอิสของน้ำ บอกให้ทราบว่า ไฮโดรเจน 2 อะตอม เกิดพันธะโคเวเลนต์ชนิดพันธะเดี่ยวกับออกซิเจน ซึ่งเป็นอะตอมกลางและมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ ถ้าเขียนโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลมีเทน (CH4) พบว่าคู่อิเล็กตรอนทั้ง 4 คู่รอบคาร์บอน ซึ่งเป็นอะตอมกลาง เป็นอิเล็กตรอนคู่สร้างพันธะ จึงเขียนให้ทุกอะตอมอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน ไม่ได้แสดงรูปร่างที่แท้จริงของโมเลกุล จากการศึกษาพบว่าโมเลกุลของมีเทนมีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้า (tetrahedral) ดังภาพ
ภาพที่ 24 โมเลกุลของมีเทน
รูปร่างของโมเลกุลขึ้นกับมุมพันธะ (bond angle) ส่วนขนาดของโมเลกุลขึ้นกับความยาวพันธะ (bond langht) ซึ่งเป็นระยะทางระหว่างนิวเคลียสของอะตอมที่เกิดพันธะกัน ทฤษฎีที่ใช้ทำนายรูปร่างของโมเลกุลโคเวเลนต์คือ ทฤษฎีการผลักกันของคู่อิเล็กตรอนวงนอกสุด (Valence Shell Electron Pair Repulsion) เรียกสั้นๆว่าทฤษฎี VSEPR ทฤษฎีนี้มีสมมุติฐานเกี่ยวกับการเกิดพันธะดังนี้
- อะตอมต่าง ๆ ในโมเลกุล เกิดพันธะกันด้วยคู่อิเล็กตรอนวงนอกสุดโดยอะตอมเกิดพันธะกันด้วยอิเล็กตรอนคู่สร้างพันธะ 1 คู่ (พันธะเดี่ยว) หรือมากกว่า
- อะตอมบางอะตอมในโมเลกุล อาจมีอิเล็กตรอนคู่ที่ไม่สร้างพันธะหรืออิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว (lone pair)
- อิเล็กตรอนคู่สร้างพันธะ และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว รอบอะตอมใด ๆในโมเลกุลเป็นกลุ่ม หมอกอิเล็กตรอนที่มีประจุลบ จึงพยายามอยู่ห่างกันให้มากที่สุดเพื่อให้มีแรงผลักซึ่งกันและกันของคู่อิเล็กตรอนน้อยที่สุดและพลังงานของโมเลกุลมีค่าน้อยที่สุด
- อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวครอบครองที่ว่างมากกว่าอิเล็กตรอนคู่สร้างพันธะ โดยที่แรงผลักของอิเล็กตรอนสามารถเรียงลำดับได้ดังนี้ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว – อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว > อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว – อิเล็กตรอนคู่สร้างพันธะ > อิเล็กตรอนคู่สร้างพันธะ – อิเล็กตรอนคู่สร้างพันธะ
- แรงผลักลดลงเมื่อมุมระหว่างอิเล็กตรอนกว้างขึ้น เช่น แรงผลักของคู่อิเล็กตรอนที่ทำมุม 90 องศาจะมากกว่าแรงผลักระหว่างคู่อิเล็กตรอนที่ทำมุม 120 องศา โมเลกุลที่อะตอมกลางมีคู่อิเล็กตรอน 2 คู่ คู่อิเล็กตรอนทั้งสองจะมีแรงผลักกันน้อยที่สุด เมื่ออยู่ตรงกันข้ามมุมระหว่างคู่อิเล็กตรอนทั้งสองเป็น 180๐ รูปทรงเรขาคณิตของคู่อิเล็กตรอนจึงเป็นเส้นตรง ดังรูป
โมเลกุลที่อะตอมกลางมีคู่อิเล็กตรอน 3 คู่ ดังรูป
โมเลกุลที่อะตอมกลางมีคู่อิเล็กตรอน 4 คู่ ดังรูป
โมเลกุลที่อะตอมกลางมีคู่อิเล็กตรอน 5 คู่ ดังรูป
a = อะตอมคู่สร้างพันธะ
ในแนว axial
ในแนว axial
e = อะตอมคู่สร้างพันธะ
ในแนว equatorial
ในแนว equatorial
โมเลกุลที่อะตอมกลางมีคู่อิเล็กตรอน 6 คู่ ดังรูป
วิธีทำนายรูปร่างของโมเลกุลโดยใช้ทฤษฎี VSEPR
การทำนายรูปร่างของโมเลกุลทำได้ดังต่อไปนี้
- เขียนโครงสร้างลิวอิสของโมเลกุลหรือไอออน โดยให้อะตอมที่สนใจเป็นอะตอมกลางและอะตอมอื่น เกิดพันธะกับอะตอมที่สนใจโดยอาจเป็นพันธะเดี่ยว พันธะคู่หรือพันธะสาม
- นับจำนวนคู่อิเล็กตรอนรอบอะตอมกลาง ทั้งอิเล็กตรอนคู่สร้างพันธะ และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
2.1 อิเล็กตรอนในพันธะคู่หรือพันธะสาม นับเป็นกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน 1 กลุ่ม
2.2 อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว นับเป็นกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน 1 กลุ่ม
2.3 สำหรับโมเลกุลหรือไอออนที่มีโครงสร้างเรโซแนนซ์ อาจใช้โครงสร้างเรโซแนนซ์ไฮบริดในการทำนายรูปร่างของโมเลกุล
2.2 อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว นับเป็นกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน 1 กลุ่ม
2.3 สำหรับโมเลกุลหรือไอออนที่มีโครงสร้างเรโซแนนซ์ อาจใช้โครงสร้างเรโซแนนซ์ไฮบริดในการทำนายรูปร่างของโมเลกุล
- ระบุรูปทรงเรขาคณิตของคู่อิเล็กตรอนที่เสถียรที่สุดได้แก่ เส้นตรง สามเหลี่ยมแบนราบ ทรงสี่หน้า พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยมและทรงแปดหน้า
- พิจารณาตำแหน่งของอะตอมตามชนิดของคู่อิเล็กตรอนในโมเลกุล สำหรับการจัดเรียงตัวของคู่อิเล็กตรอนแบบพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยมและทรงแปดหน้านั้นอาจมีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนคู่สร้างพันธะและอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวได้มากกว่า 1 แบบ
4.1 พีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม ให้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวอยู่ในระนาบของฐานสามเหลี่ยม
4.2 ทรงแปดหน้า ถ้ามีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ ให้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวแต่ละคู่อยู่คนละด้านของอะตอมกลาง
4.2 ทรงแปดหน้า ถ้ามีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ ให้อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวแต่ละคู่อยู่คนละด้านของอะตอมกลาง
- ระบุรูปร่างของโมเลกุลตามตำแหน่งของอะตอมไม่ใช้ตามคู่อิเล็กตรอนที่ล้อมรอบอะตอมกลาง
สภาพขั้วของโมเลกุล (Polarity of molecule)
โมเลกุลมีขั้ว (Polar molecule) คือโมเลกุลที่เป็นกลางซึ่งมีการกระจายของอิเล็กตรอนไม่สม่ำเสมอ ทำให้โมเลกุลมีขั้วบวกและขั้วลบ ซึ่งเรียกว่า เป็นขั้วคู่ (dipole) เนื่องจากมีขั้วบวก (ประจุบวกบางส่วน , ) และขั้วลบ (ประจุลบบางส่วน, ) โมเลกุลมีขั้วจะมีการจัดเรียงตัวในสนามไฟฟ้าโดยหันขั้วบวกของโมเลกุลเข้าหาขั้วไฟฟ้าลบ แต่เนื่องจากประจุสุทธิเป็นศูนย์ โมเลกุลมีขั้วจึงไม่เคลื่อนที่ในสนามไฟฟ้า ในขณะที่ไอออนต่าง ๆ เช่น Na+ และ Cl– จะเคลื่อนที่ในสนามไฟฟ้าได้ ส่วนโมเลกุลไม่มีขั้ว (nonpolar molecule) จะไม่มีการจัดเรียงตัวในสนามไฟฟ้า และไม่เคลื่อนที่ในสนามไฟฟ้า
ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ (Valence bond theory)
โครงสร้างลิวอิส และทฤษฎี VSEPR ให้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปร่างของโมเลกุลและการกระจายของอิเล็กตรอนในโมเลกุล อย่างไรก็ตามทฤษฎี VSEPR ไม่ได้อธิบายว่าเหตุใดจึงเกิดพันธะ ในปี ค.ศ. 1930 ไลนัส พอลิง (Linus Pauling) และเจ.ซี. สเลเตอร์ (J.C. Slater) ได้เสนอทฤษฎีที่ใช้อธิบายการเกิดพันธะโคเวเลนต์ขึ้นเรียกว่า ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ (valence bond theory) โดยพันธะโคเวเลนต์เกิดขึ้นโดยออร์บิทัลอะตอมวงนอกสุดที่มีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่เพียงตัวเดียวซ้อนเกย (Overlap) กับออร์บิทัลอะตอมวงนอกสุดที่มีอิเล็กตรอนตัวเดียวของอีกอะตอมหนึ่ง และอิเล็กตรอนทั้งสองจะจัดตัวให้มีสปินตรงกันข้ามอยู่ในออร์บิทัลนี้ เช่น ใน H2 พันธะ H-H เกิดจากการซ้อนเกยกันของ 1S ออร์บิทัล ดังรูป
ภาพที่ 25 พันธะ H – H เกิดจากการซ้อนเกยกันของ 1s ออร์บิทัลจากแต่ละไฮโดรเจนอะตอม
ในไฮโดรเจนฟลูออไรด์โมเลกุล HF พันธะเกิดจากการซ้อนกันของ 2p ออร์บิทัลของฟลูออรีนอะตอมกับ 1s ออร์บิทัลของไฮโดรจนอะตอม ดังรูป
ภาพที่ 26 พันธะ H – F เกิดจากการซ้อนกันของ 1s ออร์บิทัลของไฮโดรเจนอะตอมกับ 2p ออร์บิทัลของฟลูออรีนอะตอม
พันธะที่เกิดขึ้นจากการซ้อนกันของ s ออร์บิทัลกับ s ออร์บิทัลหรือ s ออร์บิทัลกับ p ออร์บิทัล เรียกว่า พันธะซิกมา (σ bond) ซึ่งเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่มีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนสูงในแนวแกนระหว่างนิวเคลียส อิเล็กตรอนเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็น “กาว” ยึดนิวเคลียสทั้งสองไว้ด้วยกัน
P ออร์บิทัล 2 ออร์บิทัลอาจซ้อนกันได้ 2 แบบเนื่องจาก p ออร์บิทัลไม่เป็นทรงกลม ถ้า p ออร์บิทัลทั้งสองซ้อนกันตามแนวแกนระหว่างนิวเคลียส จะเกิดพันธะ σ แต่ถ้า p ออร์บิทัลทั้งสองซ้อนกันทางด้านข้างจะเกิดพันธะที่เรียกว่า พันธะพาย (π bond) พันธะ π นี้เป็นพันธะโคเวเลนต์ซึ่งบริเวณที่ซ้อนกันอยู่เหนือและใต้แกนระหว่างนิวเคลียส การซ้อนกันของ P ออร์บิทัลในพันธะ π เกิดขึ้นได้น้อยกว่าการซ้อนกันในพันธะ σ ดังนั้นพันธะπ จะแข็งแรงน้อยกว่าพันธะ σ
ภาพที่ 27 การเกิดพันธะโดยการซ้อนกันของ p ออร์บิทัล 2 ออร์บิทัล (ก) พันธะ σ และ (ข) พันธะ π
พันธะเดี่ยวจะเป็นพันธะ σ เสมอ พันธะคู่ประกอบด้วยพันธะ σ หนึ่งพันธะและพันธะ π หนึ่งพันธะ ส่วนพันธะสามประกอบด้วยพันธะ σ หนึ่งพันธะ และพันธะ π สองพันธะ
ออกซิเจนมีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 1s² 2s² 2p4
เนื่องจากออกซิเจนมีอิเล็กตรอนเดี่ยว 2 ตัวใน p ออร์บิทัล จึงสามารถเกิดพันธะกับออกซิเจนอีกอะตอมหนึ่งได้ 2 พันธะ พันธะหนึ่งเกิดจากการซ้อนกันของ p ออร์บิทัลในแนวแกนระหว่างนิวเคลียส เกิดเป็นพันธะ หนึ่งพันธะ อีกหนึ่งพันธะเกิดจากการซ้อนกันของ p ออร์บิทัลทางด้านข้าง เกิดเป็นพันธะ หนึ่งพันธะ พันธะใน O2 จึงเป็นพันธะคู่
ทฤษฎีไฮบริดออร์บิทัล (Hybrid obital theory)
ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์สามารถอธิบายการเกิดพันธะในโมเลกุลอะตอมคู่และโมเลกุลง่าย ๆ ได้ดี อย่างไรก็ตามทฤษฎีดังกล่าวไม่สามารถอธิบายการเกิดพันธะในโมเลกุลอื่นอีกมากมายได้ เช่น มีเทน (CH4) คาร์บอนอะตอมมีอิเล็กตรอนวงนอกสุด 4 ตัว
จึงมี p ออร์บิทัลที่บรรจุอิเล็กตรอนเดียว 2 ออร์บิทัลซึ่งสามารถซ้อนกับ s ออร์บิทัลของไฮโดรเจนเกิดพันธะได้ แต่จากการทดลองพบว่าโมเลกุล CH4 มีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้า มุมพันธะเป็น 109.50 โดยมีพันธะ ระหว่างคาร์บอนและไฮโดรเจน 4 อะตอม จำนวน 4 พันธะ ซึ่งทุกพันธะเหมือนกัน การที่จะเกิดพันธะ ตามแนวแกนพันธะได้ คาร์บอนอะตอมจะต้องมีออร์บิทัลที่ชี้ไปยังมุมของทรงสี่หน้า และซ้อนกับ 1s ออร์บิทัลของแต่ละไฮโดรเจนอะตอม อย่างไรก็ตาม นักศึกษาได้ทราบแล้วว่า s และ p ออร์บิทัลไม่ได้มีรูปร่างและการจัดเรียงตัวเป็นมุมดังกล่าว จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ 2s และ 2p ออร์บิทัลของคาร์บอนซ้อนกับ 1s ออร์บิทัลของไฮโดรเจนทั้งสี่อะตอม เกิดเป็นพันธะ สี่พันธะที่เหมือนกันและมีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้า
ทฤษฎีไฮบริดออร์บิทัล กล่าวว่า “เมื่ออะตอม 2 อะตอมเข้าใกล้กัน อิทธิพลของนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองจะทำให้พฤติกรรมของอิเล็กตรอนในแต่ละอะตอมเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นออร์บิทัลอะตอมที่เกิดพันธะจะแตกต่างไปจากออร์บิทัลอะตอมในอะตอมเดี่ยว เวเลนซ์ออร์บิทัลที่พลังงานใกล้เคียงกันของอะตอมเดียวกันจะเข้ามารวมกันเกิดเป็นออร์บิทัลอะตอมใหม่ ซึ่งมีรูปร่าง ทิศทาง และพลังงานเปลี่ยนไปจากเดิม” ออร์บิทัลอะตอมที่เกิดขึ้นใหม่นี้ เรียกว่าไฮบริดออร์บิทัลอะตอม (hybrid atomic orbitals) ซึ่งมักเรียกกันสั้น ๆว่า ไฮบริดออร์บิทัล (hybrid orbitals) จำนวนไฮบริดออร์บิทัลที่ได้นี้จะเท่ากับจำนวนออร์บิทัลอะตอมที่มารวมกัน ไฮบริดออร์บิทัลสามารถซ้อนกับออร์บิทัลของอะตอมอื่นได้ดีกว่า และเกิดพันธะที่แข็งแรงกว่าออร์บิทัลอะตอมเดิม กระบวนการที่ออร์บิทัลอะตอมรวมกันเกิดเป็นไฮบริดออร์บิทัล เรียกว่า ไฮบริไดเซชัน (hybridization)
ถ้าใช้ทฤษฎีไฮบริดออร์บิทัล เราจะอธิบายการเกิดพันธะในมีเทนได้ว่า เมื่อไฮโดรเจน 4 อะตอมเข้าใกล้คาร์บอนอะตอม เวเลนซ์ออร์บิทัลของคาร์บอนคือ 2s ออร์บิทัล 1 ออร์บิทัล และ 2p ออร์บิทัล 3 ออร์บิทัล จะรวมกันเป็น sp3 ไฮบริดออร์บิทัล 4 ออร์บิทัลซึ่งมีพลังงานเท่ากันและมีรูปร่างเหมือนกัน โดยแต่ละไฮบริดออร์บิทัลจะมี 2 พู พูหนึ่งมีขนาดใหญ่ อีกพูหนึ่งมีขนาดเล็ก พูใหญ่จะมีความยาวจากนิวเคลียสมากกว่า s และ p ออร์บิทัลที่ทำให้เกิดไฮบริดออร์บิทัลนั้น ทำให้ไฮบริดออร์บิทัลซ้อนกับออร์บิทัลของอะตอมอื่นได้ดีกว่าและเกิดพันธะที่แข็งแรงกว่าออร์บิทัลอะตอมเดิม sp3 ไฮบริดออร์บิทัลทั้งสี่จะจัดเรียงตัวให้อยู่ห่างกันมากที่สุดเพื่อลดแรงผลักระหว่างอิเล็กตรอนตามทฤษฎี VSEPR ดังนั้น sp3 ไฮบริดออร์บิทัลจะจัดเรียงตัวเป็นทรงสี่หน้า มีมุมระหว่างไฮบริดออร์บิทัลเป็น 109.50 จากนั้นคาร์บอนจะใช้ sp3 ไฮบริดออร์บิทัลซ้อนกับ 1s ออร์บิทัลของไฮโดรเจนอะตอมเกิดพันธะระหว่างคาร์บอนและไฮโดรเจน 4 พันธะ
ภาพที่ 28 การเกิด sp3 ไฮบริดออร์บิทัล 4 ออร์บิทัล ซึ่งจัดเรียงตัวเป็นทรงสี่หน้า
ภาพที่ 29 การเกิดพันธะ
ระหว่างคาร์บอนและไฮโดรเจนใน CH4 โดยคาร์บอนใช้ sp3ไฮบริดออร์บิทัลซ้อนกับ 1s ออร์บิทัลของไฮโดรเจน ทำให้โมเลกุลของ CH4 มีรูปร่างเป็นทรงสี่หน้าไฮบริไดเซชันของ s ออร์บิทัล 1 ออร์บิทัล และ p ออร์บิทัล 1 ออร์บิทัล ทำให้เกิด sp ไฮบริดออร์บิทัลจำนวน 2 ออร์บิทัลซึ่งมีรูปร่างเหมือนกันและมีพลังงานเท่ากัน จัดเรียงตัวเป็นเส้นตรงทำมุม 1800 ซึ่งกันและกัน ดังรูป
ภาพที่ 30 sp ไฮบริไดเซชันและ sp ไฮบริดออร์บิทัล
พิจารณาโมเลกุลของ BeF2 ซึ่งมีโครงสร้างลิวอิสเป็น
จากทฤษฎี VSEPR ทำนายว่าโมเลกุล BeF2 เป็นเส้นตรง ถ้าใช้ทฤษฎีไฮบริดออร์บิทัลอธิบายการเกิดพันธะ รูปร่างของโมเลกุล BeF2 จะเป็นอย่างไร
ฟลูออรีนมีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 1s2 2s2 2p5
ฟลูออรีนมีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 1s2 2s2 2p5
โดยมีอิเล็กตรอนเดี่ยว 1 ตัว ใน 2p ออร์บิทัล จึงสามารถเกิดพันธะ σ ได้ 1 พันธะ Be อะตอมมีโครงสร้างอิเล็กตรอนเป็น 1s2 2s2 การจัดอิเล็กตรอนในออร์บิทัลอะตอมในสภาวะพื้น Be ไม่มีอิเล็กตรอนเดี่ยว จึงไม่น่าจะเกิดพันธะโคเวเลนต์กับ F อะตอมได้ แต่อิเล็กตรอนใน 2s ออร์บิทัลของ Be อะตอมอาจถูกส่งเสริม (promotion) ให้ขึ้นไปอยู่ใน 2p ออร์บิทัลได้ ทำให้ Be มีอิเล็กตรอนเดี่ยว 2 ตัวอยู่ใน 2s และ 2p ออร์บิทัล 2s และ 2p ออร์บิทัลดังกล่าวจะรวมกันเกิด sp ไฮบริดออร์บิทัล 2 ออร์บิทัลซึ่งมีรูปร่างเหมือนกันและมีพลังงานเท่ากัน ทำมุม 180 º ซึ่งกันและกัน จากนั้น sp ไฮบริดออร์บิทัลทั้งสองจะเกิดการซ้อนกับ p ออร์บิทัลของฟลูออรีน เกิดเป็นพันธะ σ สองพันธะ
ภาพที่ 31 แสดงออร์บิทัลอะตอมและการเกิดไฮบริไดเซชันของ Be ใน BeF2
ภาพที่ 32 การเกิดพันธะโคเวเลนต์ใน BeF2โดยการซ้อนกันของ sp ไฮบริดออร์บิทัลของ Be กับ p ออร์บิทัลของ F
การกระตุ้นให้อิเล็กตรอนคู่แยกกันเป็นอิเล็กตรอนเดี่ยวเพื่อให้เกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์กับอะตอมอื่นได้นั้นต้องใช้พลังงาน ยิ่งไปกว่านั้นพลังงานของอิเล็กตรอนในไฮบริดออร์บิทัลก็สูงกว่าพลังงานของอิเล็กตรอนในออร์บิทัลเดิมในสภาวะปกติ อย่างไรก็ตาม การเกิดพันธะโคเวเลนต์จากการซ้อนกันของไฮบริดออร์บิทัลกับออร์บิทัลของอะตอมอื่นจะทำให้พลังงานลดลงมากกว่าพลังงานที่ใช้ไป พันธะที่เกิดขึ้นจึงเสถียรดังจะเห็นได้จาก Be อะตอมในสภาวะพื้นไม่สามารถเกิดพันธะกับ F ได้ แต่เมื่อเกิดการส่งเสริมและไฮบริไดเซชันแล้วจะสามารถเกิดพันธะได้ 2 พันธะ สภาวะที่เกิดจากการส่งเสริมและไฮบริไดเซชันเป็นสภาวะซึ่งสมมติขึ้นตามทฤษฎี มีพลังงานสูงกว่าสภาวะพื้นของอะตอมและสภาวะที่อะตอมเกิดพันธะซึ่งเป็นสภาวะปกติ สภาวะทั้งสองนี้ช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานในการเกิดพันธะได้ดีขึ้น แต่อาจไม่ใช่กลไกของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจริง ไฮบริไดเซชันของ s ออร์บิทัล 1 ออร์บิทัล กับ p ออร์บิทัล 2 ออร์บิทัลของอะตอมกลาง จะทำให้เกิด sp2 ไฮบริดออร์บิทัล 3 ออร์บิทัลที่มีรูปร่างเหมือนกันและมีพลังงานเท่ากัน จัดเรียงตัวเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ ทำมุม 1200 ซึ่งกันและกัน ดังภาพ
ภาพที่ 33 sp2 ไฮบริไดเซชันและ sp2 ไฮบริดออร์บิทัล
ในโมเลกุลที่มีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ อะตอมกลางจะมี sp2 ไฮบริดออร์บิทัล เช่น โมเลกุลของ BF3 อิเล็กตรอนจาก 2s ออร์บิทัลของ B อะตอมจะถูกกระตุ้นขึ้นไปอยู่ที่ 2p ออร์บิทัล แล้ว s ออร์บิทัล 1 ออร์บิทัล และ p ออร์บิทัล 2 ออร์บิทัล ซึ่งบรรจุอิเล็กตรอนเดี่ยว เกิดไฮบริไดเซชันเป็น sp2 ไฮบริดออร์บิทัล 3 ออร์บิทัล ทำมุม 1200 ซึ่งกันและกัน sp2 ไฮบริดออร์บิทัลเหล่านี้จะซ้อนกับ p ออร์บิทัลของ F เกิดพันธะ สามพันธะโมเลกุล BF3 จึงมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ
ภาพที่ 34 แผนภาพแสดงออร์บิทัลอะตอมและการเกิดไฮบริไดเซชั่นของ B ใน BF3
ภาพที่ 35 การเกิดพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล BF3โดย sp2 ไฮบริดออร์บิทัลของ B ซ้อนกับ 2p ออร์บิทัลของ F
พิจารณาการเกิดพันธะใน CH4 คาร์บอนอะตอมกลางในสภาวะพื้นจะถูกกระตุ้นให้เวเลนซ์อิเล็กตรอนจาก 2s ออร์บิทัลขึ้นไปอยู่ใน 2p ออร์บิทัลซึ่งมีพลังงานสูงขึ้น จากนั้น 2s ออร์บิทัล 1 ออร์บิทัล และ 2p ออร์บิทัล 3 ออร์บิทัลจะรวมกันเกิดเป็น sp3 ไฮบริดออร์บิทัล จำนวน 4 ออร์บิทัล
ภาพที่ 36 แผนภาพแสดงออร์บิทัลอะตอมและการเกิดไฮบริไดเซชันของ C ใน CH4
sp3 ไฮบริดออร์บิทัลของคาร์บอนอะตอมสามารถซ้อนกับ 1s ออร์บิทัลของไฮโดรเจนอะตอม เกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ โดยรูปร่างของโมเลกุล CH4 เป็นทรงสี่หน้า ในโมเลกุลของ BeF2, BF3 และ CH4 อะตอมของ Be, B และ C สามารถใช้ไฮบริดออร์บิทัลที่บรรจุอิเล็กตรอนเดี่ยว ซ้อนกับออร์บิทัลของอะตอมอื่นเกิดเป็นพันธะ อย่างไรก็ตาม ไฮบริดออร์บิทัลอาจมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ 2 ตัวก็ได้ ในกรณีเช่นนี้อะตอมจะไม่สามารถใช้ไฮบริดออร์บิทัลนั้นสร้างพันธะกับอะตอมอื่น เนื่องจากตามหลักการกีดกันของพาวลี แต่ละออร์บิทัลบรรจุอิเล็กตรอนได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น เราจึงเรียกอิเล็กตรอนในไฮบริดออร์บิทัลดังกล่าวว่า “อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว” ตัวอย่างเช่น โมเลกุลของ NH3 และ H2O ซึ่งมีรูปทรงเรขาคณิตของคู่อิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางเป็นทรงสี่หน้าดังนั้นออร์บิทัลอะตอมจึงเกิดไฮบริไดเซชันให้ sp3 ไฮบริดออร์บิทัล 4 ออร์บิทัล NH3 โมเลกุล sp3 ไฮบริดออร์บิทัลของไนโตรเจนอะตอม 3 ออร์บิทัลบรรจุอิเล็กตรอนเดี่ยว จึงสามารถเกิดพันธะ σ สามพันธะกับไฮโดรเจน 3 อะตอม ส่วนอีกหนึ่งออร์บิทัลบรรจุคู่อิเล็กตรอนที่ไม่สร้างพันธะหรืออิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
ภาพที่ 37 ไฮบริดไดเซชันของไนโตรเจนในโมเลกุลของแอมโมเนีย ( NH3 )
ทฤษฎี VSEPR ทำนายได้ว่ารูปทรงเรขาคณิตของคู่อิเล็กตรอนเป็นทรงสี่หน้า โดยมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหนึ่งคู่ ระบุชนิดของไฮบริดออร์บิทัลที่มีการจัดเรียงตัวสอดคล้องกับรูปทรงเรขาคณิตของคู่อิเล็กตรอน การที่คู่อิเล็กตรอนจัดเรียงตัวเป็นทรงสี่หน้า แสดงให้เห็นว่ามีออร์บิทัลที่มีรูปร่างและพลังงานเหมือนกัน 4 ออร์บิทัล นั่นคือ N อะตอมเกิด ไฮบริดออร์บิทัลใน H2O โมเลกุล sp3 ไฮบริดออร์บิทัลของออกซิเจนอะตอม 2 ออร์บิทัลบรรจุอิเล็กตรอนเดี่ยว จึงเกิดพันธะ สองพันธะกับไฮโดรเจน 2 อะตอม ส่วนอีก 2 ออร์บิทัลบรรจุอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
ภาพที่ 38 ไฮบริไดเซชันของออกซิเจนในโมเลกุลของน้ำ (H2O)
อะตอมในคาบที่ 3 ขึ้นไป สามารถใช้ d ออร์บิทัลในการเกิดไฮบริดออร์บิทัลได้ ไฮบริดออร์บิทัลที่เกี่ยวข้องกับ d ออร์บิทัลที่สำคัญที่สุดคือ sp3d และ sp3d2ไฮบริดออร์บิทัล จะเห็นว่า ไฮบริดออร์บิทัล ชี้ไปยังมุมของพีระมิดคู่ฐานสามเหลี่ยม และ sp3d2 ไฮบริดออร์บิทัลชี้ไปยังมุมของทรงแปดหน้า
ภาพที่ 39 รูปร่างของ sp3 d และ sp3 d2 ไฮบริดออร์บิทัล
ตารางที่ 3 แสดงลักษณะเฉพาะในการจัดเรียงตัวเป็นรูปทรงเรขาคณิตของไฮบริดออร์บิทัล
ไฮบริไดเซชันในโมเลกุลที่มีพันธะคู่และพันธะสาม
สำหรับโมเลกุลที่อะตอมกลางเกิดพันธะคู่และพันธะสาม ไฮบริดออร์บิทัลจะบรรจุอิเล็กตรอนคู่สร้างพันธะ σ ในพันธะเดี่ยว π พันธะคู่หรือพันธะสาม และอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเท่านั้น ส่วนอิเล็กตรอนที่ใช้ในการสร้างพันธะในพันธะคู่หรือพันธะสามนั้นจะบรรจุในออร์บิทัลอะตอมที่ไม่ได้เกิดไฮบริไดเซชัน
พิจารณาการเกิดพันธะในเอทีน (ethene) หรือเอทิลีน (ethylene) ซึ่งมีสูตรเป็น C2H4 และโครงสร้างลิวอิสเป็นดังนี้
รอบคาร์บอนแต่ละอะตอม โมเลกุลจะมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบโดยมีมุมพันธะเป็น sp2 ดังนั้นทุกอะตอมในโมเลกุลจึงอยู่ในระนาบเดียวกัน จากโครงสร้างโมเลกุลแสดงว่าแต่ละคาร์บอนอะตอมใช้ sp2 ไฮบริดออร์บิทัลในการเกิดพันธะสอง σ พันธะกับไฮโดรเจน 2 อะตอม และเกิดพันธะ σ หนึ่งพันธะกับคาร์บอนอีกอะตอมหนึ่ง
จากแผนภาพแสดงออร์บิทัลอะตอมและการเกิด sp2 ไฮบริไดเซชัน อาจเขียนโครงสร้างอิเล็กตรอนของคาร์บอนโดยพิจารณาเวเลนซ์ออร์บิทัลได้ดังนี้
จากแผนภาพแสดงออร์บิทัลอะตอมและการเกิด sp2 ไฮบริไดเซชัน อาจเขียนโครงสร้างอิเล็กตรอนของคาร์บอนโดยพิจารณาเวเลนซ์ออร์บิทัลได้ดังนี้
จะเห็นว่าคาร์บอนยังมีอิเล็กตรอนเดี่ยวใน 2 p ออร์บิทัล ที่ไม่เกิดไฮบริไดเซชัน p ออร์บิทัลนี้มีทิศทางตั้งฉากกับระนาบสามเหลี่ยมแบนราบของ sp2 ไฮบริดออร์บิทัล จึงสามารถซ้อนกันทางด้านข้างเกิดพันธะ π ได้
ภาพที่ 40 แผนภาพแสดงออร์บิทัลอะตอมและการเกิดไฮบริไดเซชันของ C ใน เอทีน หรือ เอทิลีน (C2H4 )
ภาพที่ 41 การซ้อนกันของ p ออร์บิทัลที่ไม่เกิดไฮบริไดเซชัน เกิดเป็นพันธะ π
จากรูปการเกิดพันธะคู่ระหว่างคาร์บอน-คาร์บอน ในเอทีน หรือ เอทิลีน (C2H4) พิจารณาโมเลกุลของเอไทน์ (ethyne) หรืออะเซทิลีน (acethylene, (C2H2 ) ซึ่งเป็นแก๊สที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเชื่อมโลหะ
โมเลกุลของเอไทน์เป็นเส้นตรง แต่ละคาร์บอนต้องใช้ sp ไฮบริดออร์บิทัลในการเกิดพันธะ กับคาร์บอนอีกอะตอมหนึ่ง และกับไฮโดรเจน จากโครงสร้างอิเล็กตรอนของคาร์บอนเมื่อเกิด sp ไฮบริไดเซชัน
จะเห็นว่าแต่ละคาร์บอนอะตอมจะมีอิเล็กตรอนเดี่ยวอีก 2 อิเล็กตรอนอยู่ใน p ออร์บิทัลที่ไม่ได้ไฮบริไดซ์ทั้งสองออร์บิทัล ซึ่งอยู่ในแนวตั้งฉากกับ sp ไฮบริดออร์บิทัล p ออร์บิทัลทั้งสองจึงสามารถซ้อนกัน เกิดเป็นพันธะสองพันธะ ดังนั้น พันธะสามจึงประกอบด้วยพันธะ หนึ่งพันธะ σ และพันธะ π สองพันธะ
ภาพที่ 42 การเกิดพันธะสามระหว่างคาร์บอน-คาร์บอน ในเอไทน์หรืออะเซทิลีน (C2H2)
เนื่องจากพันธะ π แข็งแรงน้อยกว่าพันธะ σ ดังนั้นพันธะสามจะแข็งแรงกว่า (ความยาวพันธะน้อยกว่า) พันธะคู่ แต่แข็งแรงกว่า C – C ไม่ถึงสามเท่า ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพันธะคู่และพันธะสาม คือการหมุนบิดโมเลกุลรอบแกนของพันธะคู่หรือพันธะสามไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น ใน C2H4 ถ้าเราหมุน C อะตอม รอบพันธะ (c = c) p ออร์บิทัลที่ไม่เกิดไฮบริไดเซชันบนคาร์บอนนั้นจะมีทิศทางเปลี่ยนไป ไม่อยู่ในแนวขนานกับ p ออร์บิทัลที่ไม่เกิดไฮบริดไดเซชันบนคาร์บอนอีกอะตอมหนึ่งจึงไม่สามารถซ้อนกันได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้นการหมุนบิดโมเลกุลรอบพันธะคู่หรือพันธะสาม จึงทำให้เกิดการสลายพันธะ π ซึ่งต้องใช้พลังงานสูงกว่าพลังงานของโมเลกุลที่สภาวะปกติ เป็นเหตุให้การหมุนบิดรอบแกนของพันธะคู่หรือพันธะสามไม่เกิดขึ้น
ภาพที่ 43 การหมุนบิดโมเลกุลรอบพันธะคู่ของคาร์บอน-คาร์บอน (C = C)
พิจารณาการเกิดพันธะในฟอร์แมลดีไฮด์ ซึ่งมีพันธะเดี่ยว C-H สองพันธะ พันธะคู่ (C = O) หนึ่งพันธะ รูปทรงเรขาคณิตของคู่อิเล็กตรอนในฟอร์แมลดีไฮด์ (H2CO) เป็นสามเหลี่ยมแบนราบ แสดงว่าคาร์บอนอะตอมเกิด sp2 ไฮบริดออร์บิทัล 3 ออร์บิทัลสำหรับสร้างพันธะ σ สามพันธะ โดยที่ sp2 ไฮบริดออร์บิทัล 2 ออร์บิทัลจะเกิดพันธะ σ กับ 1s ออร์บิทัลของไฮโดรเจน 2 อะตอม ส่วน sp2 ไฮบริดออร์บิทัลอีกออร์บิทัลหนึ่งจะซ้อนกับ sp2 ไฮบริดออร์บิทัลที่บรรจุอิเล็กตรอนเดี่ยวของออกซิเจน (โครงสร้างอิเล็กตรอนของออกซิเจนคือ 2s2 2px1 2py1 2pz1 จึงเกิด sp2 ไฮบริดออร์บิทัล และมี p ออร์บิทัลที่ไม่เกิดไฮบริไดเซชันอีก 1 ออร์บิทัล) ในแนวแกนระหว่างนิวเคลียสของคาร์บอนและออกซิเจนอะตอม จึงเกิดเป็นพันธะ σ นอกจากนี้ p ออร์บิทัลที่ไม่เกิดไฮบริไดเซชันของคาร์บอนอะตอมซึ่งอยู่ในแนวตั้งฉากกับระนาบสามเหลี่ยมแบนราบ และอยู่ในแนวขนานกับ p ออร์บิทัลที่ไม่ได้เกิดไฮบริไดเซชันของออกซิเจนซึ่งมีอเล็กตรอนเดี่ยวบรรจุอยู่ จะสามารถซ้อนกันได้ทางด้านข้าง เกิดเป็นพันธะ ดังนั้นจึงเกิดพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนและออกซิเจนซึ่งประกอบด้วยพันธะ σ และพันธะ π อย่างละ 1 พันธะ
ภาพที่ 44 ฟอร์แมลดีไฮด์ (H2CO)
ทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุล (Molecular orbital theory : MO theory)
ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์และทฤษฎีไฮบริดออร์บิทัลอธิบายว่า พันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุลเกิดจากการซ้อนกันของออร์บิทัลอะตอมหรือไฮบริดออร์บิทัล อิเล็กตรอนในโมเลกุลจึงอยู่ในออร์บิทัลอะตอมหรือไฮบริดออร์บิทัลของแต่ละอะตอม เช่น ใน CH4 โมเลกุล พันธะเกิดจาก 1s ออร์บิทัลของ H อะตอมและ sp3 4 ออร์บิทัล ของ C อะตอม อย่างไรก็ดี ทฤษฎีพันธะเวเลนซ์ และทฤษฎีไฮบริดออร์บิทัลไม่สามารถใช้อธิบายสเปกตรัมและสมบัติแม่เหล็กของโมเลกุลได้ เช่น ออกซิเจน (O2) มีสมบัติเป็นพาราแมกเนติก (paramagnetic) ซึ่งจะถูกดึงดูดในสนามแม่เหล็กเหนื่องจากมีอิเล็กตรอนเดี่ยว แต่ออกซิเจนอะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 6 ตัวซึ่งเป็นเลขคู่ ตามทฤษฎีพันธะเวเลนซ์จะทำนายได้ว่าอิเล็กตรอนทั้งหมดในโมเลกุลจะอยู่เป็นคู่ ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมบัติพาราแมกเนติก ทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุล มีสมมติฐานเกี่ยวกับการเกิดพันธะ ดังนี้
- เมื่ออะตอมเข้าใกล้กัน ออร์บิทัลอะตอมของอิเล็กตรอนวงนอกสุดจะรวมกันเกิดเป็นออร์บิทัลโมเลกุล (molecular orbital : MO) ซึ่งแสดงลักษณะเฉพาะของทั้งโมเลกุล ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งในโมเลกุล โดยจำนวนออร์บิทัลโมเลกุลที่เกิดขึ้นเท่ากับจำนวนออร์บิทัลอะตอมที่มารวมกัน เช่น เมื่อไฮโดรเจน 2 อะตอมรวมกันเกิดเป็น H2 โมเลกุล 1s ออร์บิทัลจาก H อะตอมทั้งสองจะรวมกันเกิดเป็นออร์บิทัลโมเลกุล 2 ออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานไม่เท่ากัน
- ออร์บิทัลโมเลกุลจะจัดเรียงตัวตามลำดับพลังงานที่เพิ่มขึ้น พลังงานสัมพัทธ์ ของออร์บิทัลโมเลกุลเหล่านี้ สรุปได้จากการทดลองเกี่ยวกับสเปกตรัมและสมบัติแม่เหล็กของโมเลกุล
- เวเลนซ์อิเล็กตรอนในโมเลกุล จะบรรจุอยู่ในออร์บิทัลโมเลกุล โดยแต่ละออร์บิทัลโมเลกุลสามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้สูดสุด 2 ตัว ตามหลักการกีดกันของพาวลี และอิเล็กตรอนจะบรรจุอยู่ในออร์บิทัลโมเลกุลที่มีพลังงานต่ำสุดจนเต็มก่อน แล้วจึงบรรจุในออร์บิทัลโมเลกุลที่มีพลังงานสูงขึ้นตามลำดับ และการบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลโมเลกุลเป็นไปตามกฎของฮุนด์ เช่น เมื่อมีออร์บิทัลที่มีพลังงานเท่ากันว่างอยู่ อิเล็กตรอนจะบรรจุในออร์บิทัลเหล่านี้ออร์บิทัลละ 1 ตัวก่อน ทำให้เกิดออร์บิทัลที่บรรจุอิเล็กตรอนเดี่ยว เพื่อที่จะให้เข้าใจทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุล ให้พิจารณาโมเลกุลอะตอมคู่ของธาตุในคาบที่ 1 ในตารางธาตุ เช่น การเกิดพันธะในโมเลกุลไฮโดรเจนและฮีเลียม การรวม 1s ออร์บิทัล เมื่ออะตอมของธาตุในคาบที่ 1 ของตารางธาตุเข้าใกล้กัน 1s ออร์บิทัลจากอะตอมทั้งสองจะรวมกันเกิดเป็นออร์บิทัลโมเลกุล 2 ออร์บิทัล ออร์บิทัลโมเลกุลออร์บิทัลหนึ่งจะมีพลังงานต่ำกว่าออร์บิทัลอะตอม การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลนี้จะทำให้โมเลกุลเสถียรกว่าอะตอมที่แยกกันอยู่ ดังนั้นจึงเรียกออร์บิทัลโมเลกุลที่มีพลังงานต่ำกว่าออร์บิทัลอะตอมว่า ออร์บิทัลโมเลกุลที่สร้างพันธะ (bonding molecular orbital) ส่วนออร์บิทัลโมเลกุลอีกออร์บิทัลหนึ่งจะมีพลังงานสูงกว่าออร์บิทัลอะตอม การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลนี้จึงทำให้โมเลกุลมีพลังงานเพิ่มขึ้นและไม่เสถียร จึงเรียกออร์บิทัลโมเลกุลนี้ว่า ออร์บิทัลที่ต้านการสร้างพันธะ (antibonding molecular orbital)
ภาพที่ 45 การสร้างออร์บิทัลโมเลกุลจาก 1s ออร์บิทัลโมเลกุลจาก 1s ออร์บิทัลอะตอมของไฮโดรเจนอะตอม
ในออร์บิทัลโมเลกุลที่สร้างพันธะมีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนสูงในบริเวณที่อยู่ระหว่างนิวเคลียสทั้งสอง จึงทำให้ระดับพลังงานต่ำกว่าออร์บิทัลอะตอม ส่วนในออร์บิทัลโมเลกุลที่ต้านการสร้างพันธะ โอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนในบริเวณที่อยู่ระหว่างนิวเคลียสทั้งสองมีน้อย อิเล็กตรอนจะมีความหนาแน่นมากในบริเวณด้านนอกของโมเลกุล ออร์บิทัลที่ต้านการสร้างพันธะจึงมีพลังงานสูงกว่าออร์บิทัลอะตอม ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนในออร์บิทัลโมเลกุลที่สร้างพันธะและออร์บิทัลโมเลกุลที่ต้านการสร้างพันธะจะสมมาตรรอบแกนระหว่างนิวเคลียสทั้งสอง ซึ่งหมายความว่าออร์บิทัลทั้งสองเป็นออร์บิทัลโมเลกุลชนิดซิกมา (sigma molecular orbital) ซึ่งใช้สัญลักษณ์ σ เครื่องหมาย * ใช้แสดงว่าเป็นออร์บิทัลที่ต้านการสร้างพันธะ และตัวอักษรด้านล่างขวาแสดงออร์บิทัลอะตอมที่ทำให้เกิดออร์บิทัลโมเลกุลนั้น ๆ เช่น ออร์บิทัลโมเลกุลที่สร้างพันธะซึ่งเกิดจากการรวมกันของ 1s ออร์บิทัลจะมีสัญลักษณ์เป็น σ 1s และออร์บิทัลโมเลกุลที่ต้านการสร้างพันธะจะมีสัญลักษณ์เป็น σ* 1s
ใน H2 โมเลกุลมีอิเล็กตรอน 2 ตัว อิเล็กตรอนทั้งสองจะบรรจุใน σ1s ออร์บิทัลซึ่งมีพลังงานต่ำกว่าก่อน
ใน H2 โมเลกุลมีอิเล็กตรอน 2 ตัว อิเล็กตรอนทั้งสองจะบรรจุใน σ1s ออร์บิทัลซึ่งมีพลังงานต่ำกว่าก่อน
ภาพที่ 46 แผนภาพระดับพลังงานของออร์บิทัลโมเลกุล H2
เนื่องจากแต่ละ H อะตอมมีอิเล็กตรอน 1 ตัวใน 1s ออร์บิทัล ดังนั้น H2 จึงมีอิเล็กตรอน 2 ตัว อิเล็กตรอนทั้งสองจะบรรจุใน σ 1s ออร์บิทัลซึ่งมีพลังงานต่ำกว่าออร์บิทัลอะตอมในอะตอมเดี่ยว H2 โมเลกุลจึงเสถียรกว่า H สองอะตอมที่แยกกันอยู่
ฮีเลียม (He) แต่ละอะตอมมีอิเล็กตรอน 2 ตัวอยู่ใน 1s ออร์บิทัล เมื่อ He สองอะตอมเข้าใกล้กัน 1s ออร์บิทัลจะรวมกันเป็นออร์บิทัลโมเลกุล σ 1s และ σ* 1s อิเล็กตรอนใน He2 โมเลกุลจะบรรจุในออร์บิทัลที่สร้างพันธะ 2 ตัว และออร์บิทัลที่ต้านการสร้างพันธะ 2 ตัว เนื่องจาพลังงานที่ลดลงจากอิเล็กตรอนที่สร้างพันธะ
ภาพที่ 47 แผนภาพระดับพลังงานของออร์บิทัลโมเลกุลของ He2
การเกิดพันธะในโมเลกุลอะตอมคู่ของธาตุในคาบที่ 2 : การรวม 2s และ 2p ออร์บิทัล
ธาตุเรพรีเซนเททิฟในคาบที่ 2 ของตารางธาตุมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนบรรจุใน 2s, 2px, 2py และ 2pzออร์บิทัลเมื่ออะตอมของธาตุในคาบที่ 2 เกิดพันธะกันเป็นโมเลกุลอะตอมคู่ ออร์บิทัลอะตอมที่บรรจุเวเลนซ์อิเล็กตรอนจะรวมกันเกิดเป็นออร์บิทัลโมเลกุลอย่างไร
การรวม 2s ออร์บิทัลจากแต่ละอะตอมจะให้ออร์บิทัลโมเลกุล 2 ออร์บิทัล คือ และ ซึ่งมีรูปร่างเหมือน และ ตามลำดับ
ในอะตอมเดี่ยวของธาตุในคาบที่ 2 จะมี p ออร์บิทัล 3 ออร์บิทัลคือ 2px , 2py และ 2pz ซึ่งมีทิศทางตั้งฉากซึ่งกันและกัน กำหนดให้แกนระหว่างนิวเคลียสของอะตอมที่เกิดพันธะกันคือแกน z เมื่อ 2pz ออร์บิทัลจากแต่ละอะตอมรวมกันตามแนวแกนระหว่างนิวเคลียส จะเกิดเป็นออร์บิทัลโมเลกุลที่สมมาตรรอบแกน z นั่นคือ เป็นออร์บิทัลโมเลกุลชนิดซิกมา 2 ออร์บิทัล ออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำกว่าจะมีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนสูงในบริเวณที่อยู่ระหว่างนิวเคลียส เรียกว่า ออร์บิทัลโมเลกุลชนิดซิกมาที่สร้างพันธะ ส่วนออร์บิทัลที่มีพลังงานสูงกว่าจะมีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนจะสูงในบริเวณที่ห่างจากนิวเคลียส เรียกว่า ออร์บิทัลโมเลกุลชนิดซิกมาที่ต้านการสร้างพันธะดังภาพ
ภาพที่ 48 ออร์บิทัลโมเลกุลที่เกิดจากการรวมออร์บิทัลอะตอม (ก) 2pz (ข) 2px หรือ 2py
ออร์บิทัลอะตอม 2px หรือ 2py ซึ่งตั้งฉากกับ 2pz จะรวมกับออร์บิทัลอะตอม 2px หรือ 2py จากอีกอะตอมหนึ่งในลักษณะที่แตกต่างจาก 2pz ออร์บิทัล ดังรูป (ข) โดยจะเกิดการรวมกันทางด้านข้างทำให้เกิดออร์บิทัลโมเลกุล 2 ออร์บิทัล ซึ่งความหนาแน่นของอิเล็กตรอนในออร์บิทัลไม่สมมาตรรอบแกนระหว่างนิวเคลียส ซึ่งเป็นลักษณะของออร์บิทัลโมเลกุลชนิดพาย π (pi molecular orbital, ) ออร์บิทัลที่มีพลังงานสูงกว่าคือออร์บิทัลที่มีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนสูงในบริเวณที่ห่างจากนิวเคลียส เรียกว่า ออร์บิทัลโมเลกุลชนิดพายที่ต้านการสร้างพันธะ หรือ ออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำกว่าคือออร์บิทัลที่มีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนสูงในบริเวณที่อยู่ระหว่างนิวเคลียส เรียกว่า ออร์บิทัลโมเลกุลชนิดพายที่สร้างพันธะ หรือ พลังงานสัมพัทธ์ของออร์บิทัลโมเลกุลในโมเลกุลอะตอมคู่ของธาตุเรพรีเซนเททิฟในคาบที่ 2 โปรดสังเกตว่าจาก Li2 ถึง N2 พลังงานของ และ ออร์บิทัลจะต่ำกว่าพลังงานของ ออร์บิทัลและตั้งแต่ O2 ถึง Ne2 พลังงานของ ออร์บิทัลจะต่ำกว่าพลังงานของ และ ออร์บิทัล
ภาพที่ 49 แผนภาพระดับพลังงานของออร์บิทัลโมเลกุลในโมเลกุลอะตอมคู่ของธาตุในคาบที่ 2
(ก) Li2 ถึง N2 (ข) O2 ถึง Ne2
จากแผนภาพระดับพลังงานของออร์บิทัลโมเลกุล เราสามารถเขียนโครงสร้างอิเล็กตรอนในออร์บิทัลโมเลกุล ( MO electron configuration ) ของโมเลกุลอะตอมคู่ของธาตุเรพรีเซนเททิฟในคาบที่ 2 ได้ โดยบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลโมเลกุลตามลำดับพลังงานจากต่ำไปสูง เช่น โครงสร้างอิเล็กตรอนของ F2 เขียนได้ดังนี้
สารประกอบโคเวเลนต์
สารประกอบโคเวเลนต์ มีสมบัติดังนี้
- มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีค่าน้อย
- ไม่นำไฟฟ้าทั้งสภาพแก๊ส ของเหลว และของแข็ง
- ไม่ละลายในตัวทำละลายมีขั้ว เช่น น้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายไม่มีขั้ว เช่น เบนซิน
- ปฏิกิริยาของสารประกอบโคเวเลนต์ เป็นปฏิกิริยาที่เกิดช้าเพราะต้องทำลายพันธะเดิมก่อนแล้วเกิดพันธะใหม่ การปะทะกันระหว่างโมเลกุลจะเกิดปฏิกิริยาเมื่อได้รับพลังงานเพียงพอ
มีสารโคเวเลนต์บางชนิดที่ไม่มีโมเลกุล ปกติมีสถานะเป็นของแข็ง ภายในโครงสร้างประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกันต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์เป็นโครงสร้างสามมิติขนาดใหญ่ ได้แก่ เพชร (C) ซิลิคอน (Si) ซิลิคอน
คาร์ไบด์ (SiC) เป็นต้น ซึ่งเพชรประกอบด้วยอะตอมคาร์บอนต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์มีโครงสร้างแบบทรงสี่หน้าต่อกันไปเป็นโครงสร้างที่ยึดกันแน่นเป็นของแข็งที่แข็งมาก มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูงถึง 3,500 องศาเซลเซียส ไม่นำไฟฟ้า นอกจากนี้ยังพบว่า คาร์บอนมีโมเลกุลที่เสถียรมากอีกแบบหนึ่งคือ มีโครงสร้างประกอบด้วยคาร์บอน 60 อะตอม แต่ละอะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์ด้วย sp2 ไฮบริดออร์บิทัล นักเคมีเรียกโครงสร้างแบบนี้ว่าบัคมินสเตอร์ฟุลเลอรีน (Buckminsterfullerene) นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า บัคกีบอล (Buckyball)
3.1.3 พันธะโลหะ (Metallic bond)
โลหะเป็นธาตุที่มีอิเล็กตรอนระดับนอกจำนวนน้อย และมีพลังงานการแตกตัวเป็นไอออนต่ำ มีจุดหลอมเหลวสูง นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี สามารถทุบให้เป็นแผ่นบางหรือดึงให้เป็นเส้นได้ โลหะมีเงาและทึบแสง สมบัติเหล่านี้แสดงว่าอะตอมโลหะไม่ได้ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะไอออนิก หรือพันธะโคเวเลนต์ หรือแรงแวนเดอร์วาล เหตุผลเพราะว่าสารที่มีพันธะโคเวเลนต์ ไม่นำไฟฟ้า เนื่องจากไม่มีอิเล็กตรอนที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ และจะทำให้เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็นเส้นก็ไม่ได้ เพราะพันธะโคเวเลนต์มีทิศทางเฉพาะย่อมขัดขืนต่อการเปลี่ยนรูป พันธะไอออนิกก็เช่นกัน แม้เป็นพันธะที่ไม่มีทิศทาง ถ้าใช้แรงทุบตีให้เป็นแผ่นก็จะแตกหักออกจากกัน ส่วนแรงแวนเดอร์วาลเป็นแรงที่อ่อนมากแต่โลหะเป็นวัสดุที่แข็งแรงย่อมมีแรงระหว่างอนุภาคสูงมากกว่าแรงแวนเดอร์วาล
จากสมบัติของโลหะดังกล่าวแสดงว่าโลหะมีพันธะที่เป็นแรงดึงดูดระหว่างไอออนบวกที่อยู่เรียงชิดติดกันกับอิเล็กตรอนที่อยู่โดยรอบ คล้ายทะเลอิเล็กตรอนที่เคลื่อนไหลอยู่รอบ ๆ ไอออนบวกจึงเป็นเหตุทำให้โลหะนำไฟฟ้าได้ดี ตีให้เป็นแผ่นหรือดึงให้เป็นเส้นได้ โดยไม่แตกหักดังภาพ
3.2 แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล (Intermolecular Forces)
แรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล นอกจากอยู่ในรูปของพันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์แล้วยังมีแรงยึดเหนี่ยวที่สำคัญระหว่างอะตอมและระหว่างโมเลกุล คือ แรงแวนเดอร์วาล (van der waal forces) และพันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond) แรงดึงดูดทั้งสองนี้เป็นแรงที่อ่อนกว่าแรงจากพันธะไอออนิกและโคเวเลนต์ แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลนี้มีความสำคัญและสามารถใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของสารและสมบัติทางกายภาพ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว แรงแวนเดอร์วาลจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อจำนวนอิเล็กตรอนและมวลโมเลกุลเพิ่ม แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีหลายประเภทดังนี้
3.2.1 แรงแวนเดอร์วาล (van der waal forces)
เป็นแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลไม่มีขั้วซึ่งเป็นผลมาจากการมีสภาพขั้วขณะหนึ่ง ซึ่งภายในอะตอมหรือโมเลกุลมีกลุ่มอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ตลอดเวลา ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนรอบ ๆ นิวเคลียสเปลี่ยนแปลงได้ทำให้ชั่วขณะหนึ่ง มีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนไม่สม่ำเสมอ เป็นผลทำให้เกิดลักษณะขั้วบวกลบ (สองขั้ว) ขึ้นมาชั่วขณะ นั่นคือ ศูนย์กลางของประจุบวกเคลื่อนที่ไปอยู่คนละที่กับศูนย์กลางของประจุลบ โมเลกุลเหล่านี้จะเหนี่ยวนำโมเลกุลที่อยู่ข้างเคียงให้กลายเป็นโมเลกุลที่มีขั้วขึ้นมาด้วย และมีแรงดึงดูดกันแม้เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่เกิดบ่อยครั้ง แรงดึงดูดจึงมีอยู่ตลอดไป นอกจากนี้ขนาดและรูปร่างโมเลกุลก็มีส่วนสำคัญ โมเลกุลขนาดใหญ่และมีรูปร่างยาวจะอยู่ในสภาพมีขั้วง่ายกว่าโมเลกุลที่มีขนาดเล็กและมีรูปร่างเป็นก้อนกลม
3.2.2 แรงดึงดูดระหว่างขั้ว (dipole-dipole interaction)
แรงนี้เกิดจากโมเลกุลที่มีขั้ว เช่น CO, NO, SO2 เมื่อโมเลกุลเหล่านี้เข้ามาใกล้กัน ขั้วบวก () ของโมเลกุลจะหันเข้าหาด้านขั้วลบ () ของอีกโมเลกุลหนึ่ง ทำให้เกิดแรงดึงดูดขึ้น ซึ่งเป็นแรงดึงดูดที่อ่อน มีความแรงประมาณ 1% ของพันธะไอออนิกหรือพันธะโคเวเลนต์เท่านั้น แรงดึงดูดประเภทนี้ทำให้โมเลกุลที่มีสภาพขั้ว มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงกว่าโมเลกุลที่ไม่มีสภาพขั้ว เมื่อมีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน
3.2.3 พันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond)
พันธะไฮโดรเจน เป็นพันธะที่เกิดกับโมเลกุลที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน (H) สร้างพันธะโคเวเลนต์กับอะตอมที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูง ซึ่งสามารถดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ในพันธะได้ดี ความหนาแน่นอิเล็กตรอนจะไปเข้มข้นอยู่ทางด้านของอะตอมที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูง ทำให้อะตอมไฮโดรเจนมีสภาพไฟฟ้าเป็นบวกมาก จนเกือบกลายเป็นไฮโดรเจนไอออน อะตอมไฮโดรเจนจึงสามารถดึงดูดอะตอมที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูงของโมเลกุลข้างเคียง เกิดเป็นพันธะขึ้น ซึ่งพันธะนี้ทำหน้าที่คล้ายสะพานเชื่อมระหว่างสองอะตอมของสองโมเลกุลนั้น พันธะไฮโดรเจนจัดเป็นแรงระหว่างโมเลกุลที่เป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าอย่างอ่อนกว่าพันธะไอออนิกและพันธะโคเวเลนต์แต่แรงกว่าแรงแวนเดอร์วาล และเป็นพันธะที่ยาวกว่าพันธะโคเวเลนต์ เราใช้ขีด —- และ …. แทนพันธะไฮโดรเจน ตัวอย่าง
สารประกอบที่มีพันธะไฮโดรเจนได้แก่ HCl, H2O, HF ฟลูออรีนเป็นธาตุที่มีสภาพไฟฟ้าลบสูงที่สุด ดังนั้นพันธะ H – F ในไฮโดรเจนฟลูออไรด์จึงเป็นพันธะที่อยู่ในสภาพมีขั้วมาก จึงเกิดแรงดึงดูดระหว่างฟลูออรีนกับไฮโดรเจนของอีกโมเลกุลหนึ่ง เกิดเป็นพันธะไฮโดรเจน ดังนี้
โมเลกุลของน้ำ (H2O) เกิดพันธะไฮโดรเจนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากออกซิเจนมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว 2 คู่ เช่น และออกซิเจนเป็นธาตุที่มีความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนในพันธะได้ดี จึงมีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนรอบ ๆ อะตอมออกซิเจนสูง ในขณะที่ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนรอบอะตอมไฮโดรเจนมีเบาบางจึงเกิดพันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของน้ำได้ดี
ตัวอย่างของการเกิดพันธะไฮโดรเจน
พันธะไฮโดรเจนมีอิทธิพลต่อสมบัติของสาร เช่น ทำให้สารมีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น H2S มีมวลโมเลกุล 34 มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง มีจุดเดือด – 60 องศาเซลเซียส ในขณะที่ H2O ซึ่งมีมวล 18 แต่มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง มีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลของพันธะไฮโดรเจนในโมเลกุลของน้ำ นอกจากนี้ พันธะไฮโดรเจนยังมีบทบาทมากในลักษณะโครงสร้างของโปรตีน DNA และ RNA ซึ่งเป็นโมเลกุลของสิ่งมีชีวิต
เลขออกซิเดชัน (Oxidation number)
เลขออกซิเดชัน หมายถึง ตัวเลขที่แสดงจำนวนอิเล็กตรอนในระดับนอกของธาตุที่ใช้ในการสร้างพันธะเคมี เวลาเขียนจะแสดงเครื่องหมายบวกหรือลบกำกับไว้ สำหรับสารประกอบไอออนิก เลขออกซิเดชันของธาตุที่ให้อิเล็กตรอนจะมีเครื่องหมายเป็นบวก และมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่ให้ไป ส่วนธาตุที่รับอิเล็กตรอนเลขออกซิเดชันจะมีเครื่องหมายเป็นลบ และมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่รับมา ตัวอย่างเช่น
NaCl จะได้ว่า Na มีเลขออกซิเดชันเป็น +1
Cl มีเลขออกซิเดชันเป็น -1
CaCl2 จะได้ว่า Ca มีเลขออกซิเดชันเป็น +2
Cl มีเลขออกซิเดชันเป็น -1
สำหรับสารประกอบโคเวเลนต์ที่พันธะประกอบด้วยธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้สูงกับธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้ต่ำ ธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้สูงสามารถดึงอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันในพันธะได้ดีกว่า จะมีเลขออกซิเดชันเป็นลบ และมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่ดึงเข้ามา ส่วนธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้ต่ำกว่า จะมีเลขออกซิเดชันเป็นบวก และมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนที่ถูกดึงไป
ตัวอย่างที่ 1 H2O
O มีเลขออกซิเดชัน = – 2
H มีเลขออกซิเดชัน = + 1
สำหรับธาตุหรือสารประกอบโคเวเลนต์ที่ประกอบด้วยธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้เท่ากันจะมีเลขออกซิเดชันเป็นศูนย์ เช่น O2, F2, O3, S8, Cu, Fe
ข้อควรจำ ผลบวกของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดในสารหนึ่งโมเลกุลมีค่าเป็นศูนย์ และผลบวกของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดในไอออนที่มีหลายอะตอมมีค่าเท่ากับประจุของไอออนนั้น (การคิดเลขออกซิเดชันจะคิดต่อ 1 อะตอมของแต่ละธาตุ)
ข้อควรจำ ผลบวกของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดในสารหนึ่งโมเลกุลมีค่าเป็นศูนย์ และผลบวกของเลขออกซิเดชันของอะตอมทั้งหมดในไอออนที่มีหลายอะตอมมีค่าเท่ากับประจุของไอออนนั้น (การคิดเลขออกซิเดชันจะคิดต่อ 1 อะตอมของแต่ละธาตุ)
ตัวอย่างที่ 2 CH3Cl
C มีเลขออกซิเดชัน = – 2
Cl มีเลขออกซิเดชัน = – 1
H มีเลขออกซิเดชัน = + 1 (มี 3 อะตอม จะมีค่า = +3)
ผลรวมของเลขออกซิเดชันของ CH3Cl = 0
ตัวอย่างที่ 3 MnO4–
เนื่องจากในการสร้างพันธะเคมีของ O จะใช้ 2 อิเล็กตรอน ดังนั้น O 1 อะตอมมีเลขออกซิเดชัน – 2 ดังนั้นในไอออน MnO4– จะได้ว่า O ทั้งหมด 4 อะตอมมีเลขออกซิเดชันรวม = – 8
Mn จะมีเลขออกซิเดชัน คือ = + 7
การหาเลขออกซิเดชันของธาตุในสารประกอบพิจารณาง่าย ๆ ดังตัวอย่าง
H2SO4 H 1 อะตอมมีเลขออกซิเดชัน = +1
H 2 อะตอมมีเลขออกซิเดชัน = +2
O 1 อะตอมมีเลขออกซิเดชัน = -2
O 4 อะตอมมีเลขออกซิเดชัน = -8
ดังนั้น S 1 อะตอมจะมีเลขออกซิเดชัน = 8 – 2 = 6 แต่ผลรวมของเลขออกซิเดชันของธาตุทุกอะตอมใน 1 โมเลกุลของสารมีค่า 0 ดังนั้น S มีเลขออกซิเดชัน = + 6
สารประกอบ และสมบัติของสารประกอบ
- การเกิดสารประกอบ
สารประกอบ คือ สารที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุตั้งแต่สองธาตุขึ้นไป โดยเกิดการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน เพื่อให้เป็นไปตามกฎออกเตต (ให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดครบแปด) นั่นคือ สารประกอบเกิดจากพันธะเคมีซึ่งอาจเกิดจากพันธะไอออนิก หรือ พันธะโคเวเลนต์ก็ได้
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
- มีขั้ว สารประกอบไอออนิกไม่เกิดเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่เป็นของแข็งประกอบด้วยไอออนจำนวนมากยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
- นำไฟฟ้าได้ เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าได้ และสารประกอบไอออนิกที่หลอมเหลวก็นำไฟฟ้าได้ เพราะเมื่อหลอมเหลวไอออนจะแยกกันเป็นอิสระ
- มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง เพราะสารประกอบไอออนิกต้องใช้พลังงานมากในการทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออน เพื่อจะให้กลายเป็นของเหลว หรือกลายเป็นไอ
- การละลาย สารประกอบไอออนิกละลายได้ในน้ำหรือละลายในตัวทำละลายที่มีสภาพขั้วสูงมาก
- การเกิดปฏิกิริยาไอออนิก เป็นปฏิกิริยาระหว่างไอออน เพราะสารประกอบไอออนิกเมื่อเป็นสารละลาย ไอออนเป็นอิสระ จึงเกิดปฏิกิริยาทันที
- สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนประจุตรงกันข้าม รอบ ๆ ไอออน จะมีสนามไฟฟ้าจึงไม่แสดงทิศทางพันธะไอออนิก
สมบัติของสารประกอบโคเวเลนต์
- แรงดึงดูดภายในโมเลกุลมีน้อยทำให้มีสถานะเป็นแก๊ส ของเหลว และเป็นของแข็งที่อ่อนนุ่มที่อุณหภูมิปกติ
- ไม่ละลายน้ำ
- มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ เพราะใช้พลังงานน้อยในการทำลายแรงยึดเหนี่ยวภายในโมเลกุล
- ไม่นำไฟฟ้า
- ละลายในเบนซีน และสารอินทรีย์หรือตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว
เนื่องจากสารประกอบมีอยู่มากมาย จึงจำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ในการเขียนสูตร และการเรียกชื่อสารประกอบ เพื่อให้สะดวกแก่การจดจำ และง่ายต่อการเรียนการสอน ทั้งจะได้มีแบบแผนหลักเกณฑ์ที่เหมือนกัน จึงมีหลักดังนี้
การเขียนสูตรสารประกอบ
สารประกอบเกิดจากการรวมตัวของธาตุ หรือหมู่ธาตุ ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป ซึ่งอาจจะอยู่ในลักษณะของไอออน หรืออะตอมก็ได้ ในการเขียนสูตรจึงมีกฎเกณฑ์ดังนี้
- โลหะ กับอโลหะ ให้เขียนสัญลักษณ์โลหะก่อน แล้วเขียนอโลหะตามหลัง เช่น
K + Cl KCl
Ba + O Ba
- ถ้าเป็นไอออน กับไอออน ต้องเขียนไอออนบวกก่อน แล้วตามด้วยไอออนลบ เช่น
NH4 + กับ SO4 – เขียนได้เป็น ( NH4)2SO4
การเรียกชื่อสารประกอบ
การเรียกชื่อสารประกอบใช้หลักการตามระบบ IUPAC (International Union of Pure and Applied Chemistry) ซึ่งมีข้อตกลงดังนี้
- สารประกอบระหว่างโลหะกับอโลหะ ให้เรียกชื่อโลหะธาตุแรก หรือไอออนบวก เต็ม ๆ แล้วตามด้วยอโลหะ หรือไอออนลบ แล้วเปลี่ยนท้ายเสียงเป็นไอด์ (ide) เช่น
Na (Sodium) กับ Cl (Chlorine) เขียนสูตร NaCl อ่านเป็น Sodium chloride
Ba (Barium) กับ S (Sulfur) เขียนสูตร BaS อ่านเป็น Barium sulfide
K (Potassium) กับ I (Iodine) เขียนสูตร KI อ่านเป็น Potassium iodide
บางธาตุมีการตัด / เติม พยางค์ท้ายก่อนเปลี่ยนท้ายเสียงเป็นไอด์ เช่น
H (Hydrogen) เป็น Hydride
N (Nitrogen) เป็น Nitride
O (Oxygen) เป็น Oxide
P (Phosphorus) เป็น Phosphide
2. สารประกอบระหว่างอโลหะ กับอโลหะ สารประกอบชนิดนี้แม้จะมีองค์ประกอบเหมือนกัน แต่บางทีมีสารได้มากกว่า 1 สาร เช่น SO2 กับ SO3 หรือ CO กับ CO2 การเรียกชื่อต้องบอกจำนวนอะตอมของแต่ละธาตุ เป็นภาษากรีก คือ 1 (mono), 2 (di), 3 (tri), 4 (treta), 5 (penta), 6 (hexa), 7 (hepta), 8 (octa), 9 (nona),10 (deca) ยกเว้นธาตุแรกมี 1 อะตอมไม่ต้องบอก เช่น
SO2 อ่านว่า Sulfur dioxide
SO3 อ่านว่า Sulfur trioxide
CO อ่านว่า Cabon monoxide
CO2 อ่านว่า Cabon dioxide
P2 O5 อ่านว่า Diphosphorus pentaoxide
- สารประกอบที่มีไอออนบวก กับไอออนลบที่ไม่ใช่อะตอมเดี่ยว แต่เป็นไอออนที่ประกอบด้วยหมู่อะตอม เช่น Sulphateion SO42- มี S เป็นอะตอมกลาง ตามข้อตกลงให้ถือว่าไอออนที่มีลักษณะเช่นนี้ เป็นไอออนเชิงซ้อน เรียกชื่อแบบเดียวกับสารเชิงซ้อน แต่อนุโลมให้ใช้ชื่อสามัญ ถ้ามีธาตุอื่นมารวมตัวกับไอออนนี้ ก็เรียกธาตุนั้นนำหน้า เช่น
ไอออน
| ชื่อตามระบบ IUPAC |
ชื่อสามัญ
|
SO42- | Tetraoxosulphate ion | Sulphate ion |
NO3 | Trioxide nitrate(V) ion | Nitrate ion |
Na2SO4 | Sodium tetraoxidesulphate | Sodium sulphate |
NaNO3 | Sodium trioxonitrate | Sodium nitrate |
- สารประกอบที่ไอออนบวกมีค่าเลขออกซิเดชันหลายค่า การเรียกชื่อสารประกอบต้องระบุเลขออกซิเดชันด้วย โดยเขียนเลขโรมันไว้หลังชื่อธาตุนั้น เช่น
FeCl2 อ่านได้ว่า Iron (II) chloride
MnO2 อ่านได้ว่า Manganese (IV) oxide
สารประกอบเชิงซ้อน
สารประกอบที่ประกอบด้วยไอออนเชิงซ้อน มักจะมีโลหะสองชนิด ซึ่งในสารประกอบนั้นจะมีไอออน 2 ชนิดคือ ไอออนบวก (+) และไอออนลบ (-) และไอออนที่ประกอบด้วยธาตุตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไปนี้เรียกว่า ไอออนเชิงซ้อนอาจเป็นไอออนบวกหรือไอออนลบก็ได้ พวกไอออนเชิงซ้อนจะมีธาตุแทรนซิชันเป็นอะตอมกลาง และมีไอออน อะตอม หรือโมเลกุลอื่น มาล้อมรอบ โดยเรียกสิ่งที่ล้อมรอบว่า ลิแกนด์ ส่วนมากแล้วลิแกนด์จะยึดเหนี่ยวกับธาตุแทรนซิชันด้วยพันธะโคเวเลนต์ หรือโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ หลักการอ่านชื่อสารประกอบเชิงซ้อนมีดังนี้
- ถ้าไอออนเชิงซ้อนเป็นไอออนบวก ให้อ่านลิแกนด์นำหน้า แล้วตามด้วยเลขอะตอมกลาง โดยบอกเลขออกซิเดชันด้วย จากนั้นอ่านไอออนลบ
- ถ้าไอออนเชิงซ้อนเป็นลบ อ่านลิแกนด์นำหน้า จากนั้น อ่านอะตอมกลางลงท้ายด้วย – ate โดยบ่งบอกเลขออกซิเดชันของธาตุด้วย
ลิแกนด์บางตัวที่ควรทราบ
Cl– อ่านว่า Chloro
Br– อ่านว่า Bromo
I– อ่านว่า Iodo
CO32- อ่านว่า Carbonate
H2O อ่านว่า Aqua
CN– อ่านว่า Cyano
NO2– อ่านว่า Nitro
NH3 อ่านว่า Ammine
ตัวอย่างการอ่านชื่อสารประกอบเชิงซ้อน
Na[FeF6] อ่านว่า Sodiumhexafluoroferrate (III)
[ K3Fe(CN)6 ] อ่านว่า Potassiumhexacyanoferrate (III)
[ ( Cu(H2O)4) SO4 ] อ่านว่า Tetraaquacopper (II) sulphate
[ ( Zn(NH3)4 ]2+ อ่านว่า Tetraamminezinc (II ) ion
[ ( Ni(CN)4 ]2 – อ่านว่า Tetracyanonickelate (II) ion
[ K3Fe(CN)6 ] อ่านว่า Potassiumhexacyanoferrate (III)
[ ( Cu(H2O)4) SO4 ] อ่านว่า Tetraaquacopper (II) sulphate
[ ( Zn(NH3)4 ]2+ อ่านว่า Tetraamminezinc (II ) ion
[ ( Ni(CN)4 ]2 – อ่านว่า Tetracyanonickelate (II) ion
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น