วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ชวนชม "ฝนดาวตกเดลต้าอควอริดส์" คืนนี้ 30 ก.ค. รุ่งเช้า 31 ก.ค.

ที่มา NARIT
       
          สดร.เชิญชวนประชาชนชม "ฝนดาวตกเดลต้าอควอริดส์" ในคืนวันนี้ (30 ก.ค.) ตั้งแต่เวลา 22.00 น. จนถึงรุ่งเช้าวันพรุ่งนี้ โดยหากฟ้าเปิดและไม่มีฝนตกสามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ

          วันนี้ (30 ก.ค.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. เชิญชวนประชาชนชมฝนดาวตกเดลต้าอควอริดส์ (Delta Aquarids) หรือฝนดาวตกในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ซึ่งจะสังเกตได้ในคืนวันนี้ (30 ก.ค.) ตั้งแต่เวลาประมาณ 22.00 น. ไปจนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 31 ก.ค.นี้

           โดยจะมีอัตราการตกสูงสุดประมาณ 25 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ทางทิศตะวันออกและไม่มีแสงจันทร์รบกวน สำหรับผู้ที่สนใจชมปรากฏการณ์ฝนดาวตก แนะนำให้อยู่ในที่มืดสนิทและห่างจากแสงเมือง หากฟ้าใสและไม่มีฝนตกจะสามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ

          ทั้งนี้ ปรากฏการณ์ฝนดาวตก เกิดจากเศษฝุ่นละอองที่ดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยเหลือทิ้งไว้ในวงโคจร เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นดังกล่าวจะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการลุกไหม้ เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า

ที่มา TPBS

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

อินเดียส่งจันทรายาน 2 ไปลงจอดบนดวงจันทร์

          หลังจากที่เคยส่งยานจันทรายาน 1 ไปสำรวจมาแล้วในปี 2008 องค์การวิจัยด้านอวกาศแห่งอินเดียประสบความสำเร็จในการส่งยานจันทรายาน 2 (Chandrayaan-2) โดยจรวด GLSV Mark III ที่ศูนย์อวกาศสาทิศธาวัน รัฐอานธรประเทศ ชายฝั่งตะวันออกของประเทศอินเดีย ยานเริ่มต้นออกเดินทางที่กินเวลากว่า 40 วัน เพื่อไปลงจอดบริเวณขั้วด้านใต้ของดวงจันทร์ตมกำหนดการในวันที่ 7 กันยายนนี้
          จันทรายาน 2 ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยทีมวิศวกรอินเดีย ตัวยานมีน้ำหนักประมาณ 3.8 ตัน โครงสร้างของยานแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ยานวงโคจร (Orbiter) และยานสำรวจ (Lander) มีชื่อว่าวิกรม หรือ วิครัม (Vikram) และภายในยานวิกรมนี้ก็มีสำรวจวิครัมมีรถหุ่นยนต์สำรวจ 1 คันชื่อว่าแพรคยาน (Pragyaan) รถหุ่นยนต์สำรวจคันนี้มีน้ำหนักประมาณ 27 กิโลกรัม ใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ขับเคลื่อนด้วยล้อ 6 ล้อติดตั้งเครื่องมือสำรวจผิวดวงจันทร์และกล้องถ่ายภาพความคมชัดสูงสามารถปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ได้นานอย่างน้อย 14 วัน
          อินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนาด้านอวกาศอย่างต่อเนื่องทั้งในด้านการพัฒนาจรวดขนส่งอวกาศ ยานสำรวจอวกาศ รวมไปถึงภารกิจขนส่งดาวเทียมเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 1987 จนสามารถพัฒนาจรวด GLSV Mark III ซึ่งเป็นจรวดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของอินเดียในปัจจุบัน

ที่มา : https://news.thaipbs.or.th/content/281983

วัยรุ่นอังกฤษตาบอด หลังกินแต่มันฝรั่งทอดเป็นอาหารหลายปี

กรณีข้างต้นเป็นรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Annals of Internal Medicine โดยจักษุแพทย์ประจำโรงพยาบาลรักษาโรคตาเมืองบริสตอลระบุว่า วัยร...